ด้านอารมณ์-จิตใจ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปหมีพู

กลุ่มที่
พัฒนาการและการเรียนรู้ด้านอารมณ์-จิตใจ 
ทฤษฎีพัฒนาการทางจิตใจและอารมณ์ 

       ออสุเบล (Austrial) ได้จําแนกประเภทของอารมณ์ออกเป็น 2 ประเภท คือ (1) อารมณ์ดี - (2) อารมณ์ไม่ดี อารมณ์ดี แบ่งเป็น 4 อารมณ์ คือ รัก ดีใจ ขันหรือเบิกบาน และสงสารหรือเห็นใจอารมณ์ต่างๆจะค่อยๆพัฒนาขึ้นตามลําดับ โดยเด็กจะพัฒนาอารมณ์รักตั้งแต่แรกเกิดจากการรักตัวเองออกมาสู่คนใกล้ชิดที่สุดและกระจายออกไป ใน 2 เดือนแรก เด็กจะรู้จักอารมณ์ดีใจและปรากฏชัดเจนเมื่ออายุ 2 ปี เด็กเริ่มเกิดอารมณ์ขัน หรือเบิกบานเมื่ออายุได้ 4 เดือนและอารมณ์เบิกบานนี้จะเกิดในเด็กเล็กมากกว่าเด็กโต ส่วนอารมณ์สงสารเห็นใจจะเกิดขึ้นเมื่อเด็กอายุได้ ประมาณ 2 ปี หรือเริ่มมีความเข้าใจสถานการณ์หรือพฤติกรรมต่าง ๆ ได้บ้างแล้ว
          อารมณ์ไม่ดี จําแนกเป็น 5 อารมณ์ คือ วิตกกังวล กลัว โกรธและก้าวร้าว อิจฉาและ อารมณ์ถูกทอดทิ้ง อารมณ์วิตกกังวลพัฒนาขึ้นจากความคับข้องใจในสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นจากความไม่มั่นใจในตัวเองและจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในระยะต่าง ๆ ของชีวิต อารมณ์กลัวมักจะ มีอารมณ์วิตกกังวลแฝงอยู่ด้วย อารมณ์โกรธและก้าวร้าวซึ่งมักจะเกิดคู่กันจะมีอยู่ในเด็กปฐมวัยมากกว่าเด็กโตอารมณ์อิจฉาและริษยาจะพบมากในเด็กที่ต้องมีการแข่งขันชิงดีชิงเด่น อารมณ์ ถูกทอดทิ้งถ้าเกิดขึ้นในเด็กปฐมวัยจะเกิดผลภัยต่อชีวิตของเด็ก ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา
       พัฒนาการทางอารมณ์ หมายถึง ขบวนการวิวัฒนาการของจิตที่สามารถรับผิดชอบควบคุม ขัดเกลา และแสดงออก ซึ่งอารมณ์ให้เหมาะสมกับกาลเวลาและสถานที่ เช่น การโต้เตียงโดยไม่รู้สึกโกรธเคือง รับฟังความคิดเห็น ของบุคคลอื่นที่มีความคิดเห็นขัดแย้งกับตนอย่างสบายใจในขณะที่รู้สึกโกรธเคืองไม่แสดงพฤติกรรมใดๆ ออกมาในทางไม่ดี หรือในทางลบ
                ลักษณะพัฒนาการทางด้านอารมณ์ของเด็กปฐมวัยการแสดงออกทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยนั้นรุนแรงกว่าวัยทารก ระดับความรุนแรงทางอารมณ์ของเด็กแต่ละคนมีไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายๆอย่าง เช่น สุขภาพ สิ่งแวดล้อม การอบรมเลี้ยงดู อารมณ์โดยทั่วไปของเด็กปฐมวัย ได้แก่ อารมณ์โกรธ กลัว อิจฉา อยากรู้อยากเห็น อารมณ์สนุกสนาน และอารมณ์รัก ซึ่งมีลักษณะดังนี้
                    1.อารมณ์โกรธ จะเริ่มเมื่อเด็กอายุได้ 6 เดือน และจะมีอัตราความโกรธสูงขึ้นตามลำดับเด็กมักโกรธเมื่อถูกขัดใจ ถูกรังแก และเรียนรู้ว่าวิธีที่จะเอาชนะได้ง่ายที่สุดคือการแสดงอารมณ์โกรธ เด็กจะแสดงอารมณ์โกรธอย่างเปิดเผย เช่น ร้องไห้ กระทืบเท้า กระแทกร่างกาย ทำตัวอ่อน ไม่พูดไม่จา ฯลฯ เมื่อพ้นวัยนี้ไปแล้วเด็กจะเริ่มควบคุมตัวเองได้บ้าง ในระยะนี้ควรที่จะหลีกเลี่ยงการทำให้เด็กโกรธมากที่สุด เมื่อเวลาที่เด็กโกรธควรจะชี้แจงเหตุผลที่ไม่ตามใจ
                    2.อารมณ์กลัว กลัวในสิ่งที่จะมีเหตุผลมากกว่าวัยทารก สิ่งเร้าที่ทำให้เด็กกลัวมีมากขึ้น เช่น กลัวเสียงดัง คนแปลกหน้า อายุ 3-5 ปี กลัวสัตว์ กลัวถูกทิ้งให้อยู่คนเดียว พฤติกรรมที่เด็กแสดงออกเวลากลัว ร้องไห้ วิ่งหนี หาที่ซ่อน ความกลัวเหล่านี้จะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น
                   3.อารมณ์อิจฉา อารมณ์อิจฉาเป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อเด็กมีความรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าผู้อื่น หรือ กำลังสูญเสียของที่เป็นของตนไป จะเกิดขึ้นในเด็กอายุ 2-5 ปี เด็กจะอิจฉาน้อง เมื่อเด็กเห็นว่าพ่อแม่ให้ความสนใจมากกว่าตน พฤติกรรมที่แสดงออกเช่นเดียวกับอารมณ์โกรธ ดังนั้นควรที่จะให้ความรักความอบอุ่นที่ทัดเทียมกันเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเลื่อมล้ำ
                  4.อารมณ์อยากรู้อยากเห็น เป็นวัยที่เริ่มรู้จักการใช้เหตุผลมีความเป็นตัวของตัวเองมีความสงสัยในสิ่งที่ไม่เคยเห็น ชอบสำรวจ ชอบซักถาม
          5.อารมณ์สนุกสนาน เมื่อเด็กประสบความสำเร็จในสิ่งต่างๆที่ได้กระทำ เด็กจะเกิดความสนุกสนาน ซึ่งแสดงออกด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ
                6.อารมณ์รัก ครั้งแระเด็กจะรักตนเองก่อน ต่อมาจะรู้จักการรักคนอื่น อารมณ์นี้เป็นอารมณ์แห่งความสุข เด็กจะแสดงความรักโดยการกอดจูบลูบคลำ เด็กที่ไม่ได้รับความรักความอบอุ่นจากครอบครัวหรือคนที่ผูกพันเด็กมักจะเห็นแก่ตัว ทำให้เด็กไม่สามารถสร้างสัมพันธภาพที่ดี เด็กมักแสดงความรักต่อพ่อแม่ หรือสัตว์เลี้ยงตลอดจนของเล่น
ลักษณะพัฒนาการด้านอารมณ์จิตใจของเด็กปฐมวัยมีดังนี้
                1.พัฒนาการทางอารมณ์เด็กวัย 1 ปี 
                ด้านอารมณ์จิตใจ เด็กในช่วงนี้เริ่มรู้จักทำอะไรตามใจตนเอง ขัดใจจะโกรธ อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย แสดงอารมณ์เปิดเผยตามความรู้สึก มีปฏิกิริยาต่อต้านเมื่อไม่พอใจต้องการความเป็นตัวของตัวเอง
                2.พัฒนาการทางอารมณ์เด็กวัย 2 ปี
                ด้านอารมณ์ จิตใจ เด็กวัยนี้จะแสดงอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆด้วยคำพูด อารมณ์มักจะขึ้นๆลงๆ มีความเป็นตัวของตัวเอง เด็กในวัยนี้ถ้าได้รับการยอมรับหรือชมเชยจะมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง
                3.พัฒนาการทางด้านอารมณ์เด็กวัย 3 ปี
                ด้านอารมณ์ จิตใจ ร่าเริง แจ่มใส แสดงอารมณ์ตามความรู้สึกไม่ทำร้ายผู้อื่นเมื่อไม่พอใจ เริ่มมีความมั่นใจในตนเอง รู้จักเลือกเล่นสิ่งที่ตนชอบ สนใจ เล่นบทบาทสมมุติได้ เด็กวัยนี้ชอบทำให้ผู้ใหญ่พอใจและได้รับคำชม
                4.พัฒนาการทางอารมณ์เด็กวัย 4 ปี
                ด้านอารมณ์ จิตใจ เป็นวัยที่ชอบท้าทายผู้ใหญ่ ต้องการให้มีคนฟัง คนสนใจ สามารถแสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับสถานการณ์ ไม่ทำร้ายผู้อื่นและไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ไม่แย่งสิ่งของหรือหยิบของผู้อื่นมาเป็นของตน
               5.พัฒนาการทางอารมณ์เด็กวัยระหว่าง 5-6 ปี
               ด้านอารมณ์ จิตใจ แสดงอารมณ์ได้สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างเหมาะสม ชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางน้อยลง
        การส่งเสริมพัฒนาการทางด้านอารมณ์ของเด็กปฐมวัย พัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยยังไม่คงที่เปลี่ยนแปลงได้ง่าย เป็นวัยเจ้าอารมณ์ บางครั้งจะมีอารมณ์รุนแรง โมโหร้าย โกรธง่าย เอาแต่ใจตัวเอง จะสังเกตได้จากการที่เด็กแสดงอารมณ์ในลักษณะต่างๆ เช่น มีอารมณ์หวาดกลัวอย่างรุนแรง มีอารมณ์อิจฉาริษยาน้องและโมโหฉุนเฉียวเป็นต้น เด็กแต่ละคนจะมีลักษณะพัฒนาการทางอารมณ์แตกต่างกันตามสภาพสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้ที่แตกต่างกัน หากเด็กได้รับความไม่พอใจ เด็กก็จะสะสมอารมณ์ไม่พอใจเหล่านั้นไว้ทำให้เด็กขาดความสุข มีอารมณ์ตึงเครียดและอาจทำให้ชีวิตในวัยต่อไปมีปัญหาได้

ที่มา
ศุภนิตย์ วัฒนาธาดา
, คู่มือพัฒนาการเด็ก, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เทียนวัฒนา, 2518. 14.
สุวรรณา ไชยะธน
, ทักษะชีวิตสำหรับเด็กปฐมวัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม,2548, 16-17.
สุมน อมรวิวัฒน์
, การสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ตรีธนสาร, 2528, 10.


กิจกรรม : สวัสดีกอดกัน



          กิจกรรมสวัสดีกอดกันเป็นกิจกรรมช่วงเช้าที่ให้ครูและนักเรียน หรือ นักเรียนกับเพื่อน ได้ทักทายสวัสดีเพื่อสร้างมิตรภาพที่ดีต่อกัน การที่เด็กได้มีส่วนร่วมเล็ก ๆ นี้เป็นสิ่งสำคัญมาก โดยเฉพาะเด็กที่ขี้อายหรือพูดน้อย ไม่กล้าคุยกับเพื่อน เพราะมันเป็นการเปิดโอกาสให้พวกเขาได้สร้างมิตรภาพ ได้กล้ากอด กล้าจับมือกับเพื่อน และได้รอยยิ้มกันมาทั้งสองฝ่าย 
           กิจกรรมทักทายรูปแบบใหม่นี้ ได้พิสูจน์ให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าการกอดกันนิดๆ หน่อยๆ ในยามเช้า มันสร้างผลดีมาก เพราะมันทำให้เด็กรู้สึกปลอดภัย เหมือนกับเวลาที่เขาอยู่บ้าน และได้กอดพี่น้องหรือพ่อแม่ 

 ช่วงอายุ 3-5 ปี 
 วัตถุประสงค์ของกิจกรรม
          1. เพื่อให้เด็กได้สร้างมิตรภาพ และรู้สึกปลอดภัย
          2. เพื่อสร้างกำลังใจให้เด็กพูดน้อย ได้กล้าแสดงออก
          3.เพื่อให้เกิดความผ่อนคลาย ทางอารมณ์ 
วัสดุ/อุปกรณ์
          1. บัตรภาพรูป ภาพจับมือ ภาพกอด ภาพฝ่ามือ (แปะมือ) ภาพเท้า (แตะเท้า) ภาพชนกำปั้น
ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
          ขั้นนำ 
          ครูและนักเรียนพูดคุยสนทนา เกี่ยวกับกิจกรรมสวัสดีกอดกัน พร้อมกับสร้างข้อตกลงในการทำกิจกรรม ดังนี้ 
          1.ไม่พูดคุยเสียงดังรบกวนผู้อื่น 
          2.ช่วยคุณครูเก็บอุปกรณ์เมื่อทำกิจกรรมเสร็จแล้ว 
          วิธีดำเนินกิจกรรม 
          1.ครูแนะนำบัตรภาพ 
          2.ครูให้นักเรียนเลือกบัตรภาพ โดยมีให้เลือก ดังนี้ ภาพจับมือ,ภาพกอด,ภาพฝ่ามือ (แปะมือ) 
         3.เมื่อเลือกบัตรภาพแล้วครูให้กล่าวคำว่าสวัสดี จากนั้นนักเรียนปฏิบัติตามบัตรภาพที่นักเรียนเลือก กับเพื่อนที่อยู่ฝังตรงข้าม 
          ขั้นสรุป 
          ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับกิจกรรมสวัสดีกอดกัน พร้อมกับขอตัวแทนนักเรียนออกมาพูดความรู้สึกเมื่อทำกิจกรรมเสร็จ

ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำกิจกรรม
          1. ส่งเสริมให้เด็กกล้าคุยกับเพื่อน กล้ากอดกล้าจับมือ และได้สร้างมิตรภาพที่ดีกับเพื่อน
          2. ส่งเสริมให้เด็ก ผ่อนคลาย ความเครียด รู้จักปรับตัว
วิธีการประเมินผล
          1.สังเกตสีหน้า ท่าทาง การแสดงออกขณะกิจกรรม  แล้วบันทึกลงในแบบบันทึกการสังเกต
          2.สังเกตสีหน้า ท่าทาง ขณะสนทนาสรุปกิจกรรมและความรู้สึกที่มีต่อกิจกรรมสวัสดีกอดกัน  แล้วบันทึกลงในแบบบันทึกการสังเกต
ช่วงอายุ 5-6 ปี
วัตถุประสงค์ของกิจกรรม
          1. เพื่อให้เด็กได้สร้างมิตรภาพ และรู้สึกปลอดภัย
          2. เพื่อสร้างกำลังใจให้เด็กพูดน้อย ได้กล้าแสดงออก
          3.เพื่อให้เกิดความผ่อนคลาย ทางอารมณ์ 

วัสดุ/อุปกรณ์
          1. บัตรภาพรูป ภาพจับมือ ภาพกอด ภาพฝ่ามือ (แปะมือ) ภาพเท้า (แตะเท้า) ภาพชนกำปั้น
ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
          ขั้นนำ

          ครูและนักเรียนพูดคุยสนทนา เกี่ยวกับกิจกรรมสวัสดีกอดกัน พร้อมกับสร้างข้อตกลงในการทำกิจกรรม  ดังนี้

         1.ไม่พูดคุยเสียงดังรบกวนผู้อื่น
         2.ช่วยคุณครูเก็บอุปกรณ์เมื่อทำกิจกรรมเสร็จแล้ว
         วิธีดำเนินกิจกรรม
         1.ครูแนะนำบัตรภาพ
         2.ครูให้นักเรียนเลือกบัตรภาพ โดยมีให้เลือกดังนี้ ภาพจับมือ, ภาพกอด,ภาพฝ่ามือ(แปะมือ),ภาพเท้า(แตะเท้า),ภาพชนกำปั้น
         3.เมื่อเลือกบัตรภาพแล้วครูให้กล่าวคำว่าสวัสดี จากนั้นนักเรียนปฏิบัติตามบัตรภาพที่นักเรียนเลือก กับเพื่อนที่อยู่ฝังตรงข้าม
        ขั้นสรุป
         ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับกิจกรรมสวัสดีกอดกัน พร้อมกับขอตัวแทนนักเรียนออกมาพูดความรู้สึกเมื่อทำกิจกรรมเสร็จ
ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำกิจกรรม
          1. ส่งเสริมให้เด็กกล้าคุยกับเพื่อน กล้ากอดกล้าจับมือ และได้สร้างมิตรภาพที่ดีกับเพื่อน
          2. ส่งเสริมให้เด็ก ผ่อนคลาย ความเครียด รู้จักปรับตัว
วิธีการประเมินผล
          1.สังเกตสีหน้า ท่าทาง การแสดงออกขณะกิจกรรม  แล้วบันทึกลงในแบบบันทึกการสังเกต
          2.สังเกตสีหน้า ท่าทาง ขณะสนทนาสรุปกิจกรรมและความรู้สึกที่มีต่อกิจกรรมสวัสดีกอดกัน  แล้วบันทึกลงในแบบบันทึกการสังเกต 
สิ่งที่ปรับปรุง

           1.ปรับใช้คำใหม่
           2.เพิ่มข้อประเมินผล
           3.เพิ่มข้อตกลงในการทำกิจกรรม


กิจกรรม : ไก่กระต๊าก



วัสดุ/อุปกรณ์
        1. แก้วกระดาษ
        2. เชือก
        3. ไม้จิ้มฟัน(หักปลายแหลมออก)
        4. กระดาษสี
        5. กรรไกร
        6. กาว
        7. กระดาษตัดเป็นตา ปาก และหงอนไก่ สำหรับติดลงบนแก้ว
การดำเนินกิจกรรม
      กิจกรรมที่เหมาะสมสำหรับเด็กอายุ 4-5 ปี
ขั้นนำ
ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลงไก่ และสนทนาเกี่ยวกับไก่ พร้อมกับร่วมกันสร้างข้อตกลงในการทำกิจกรรม
ขั้นกิจกรรม
ให้เด็กทำกิจกรรมตามลำดับต่อไปนี้
        1. เจาะรูตรงกลางของก้นแก้ว
        2. ร้อยเชือกตรงที่เจาะรูพร้อมกับผูกเชือกกับไม้จิ้มฟันไว้ด้านบนของก้นแก้ว
        3.  นำตา ปาก และหงอนไก่ที่ครูเตรียมไว้มาติดลงบนแก้ว จากนั้นก็ตกแต่งตามจินตนาการ
        4. จากนั้นครูแนะนำวิธีเล่นโดยให้กระตุกเชือก เพื่อให้เกิดเสียง
ขั้นสรุป
ครูและเด็กร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับการทำไก่กระต๊าก และ ขออาสาสมัครออกมาหน้าชั้นเรียนเพื่อพูดความรู้สึกจากการทำกิจกรรมไก่กระต๊าก

กิจกรรมที่เหมาะสมสำหรับเด็กอายุ 5-6 ปี
ขั้นนำ
ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลงไก่ และสนทนาเกี่ยวกับไก่ พร้อมกับร่วมกันสร้างข้อตกลงในการทำกิจกรรม
ขั้นกิจกรรม
ให้เด็กทำกิจกรรมตามลำดับต่อไปนี้
       1. เจาะรูตรงกลางของก้นแก้ว
       2.  ร้อยเชือกตรงที่เจาะรูพร้อมกับผูกเชือกกับไม้จิ้มฟันไว้ด้านบนของก้นแก้ว
       3.  ใช้กรรไกรตัดกระดาษเป็นหงอนไก่ ปาก ตา แล้วจากนั้นให้ติดลงบนแก้ว และตกแต่งเพิ่มเติมตามจินตนาการ
       4.  จากนั้นครูแนะนำวิธีเล่นโดยให้กระตุกเชือกเพื่อให้เกิดเสียง
ขั้นสรุป
      ครูและเด็กร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับการทำไก่กระต๊าก และ ขออาสาสมัครออกมาหน้าชั้นเรียนเพื่อพูดความรู้สึกจากการทำกิจกรรมไก่กระต๊าก

     สิ่งที่ปรับปรุง
       1. ปรับภาษาที่ใช้
       2.  เพิ่มเติมขั้นสรุป
       3.  ปรับเวลาให้เหมาะสมกับกิจกรรม

       4.   ปรับวัสดุ อุปกรณ์ให้เพียงพอกับจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
        
     กิจกรรม : ล้วงกล่อง



       วัสดุ/อุปกรณ์   
           1. กล่องกระดาษ 2 กล่อง
           2. ผ้าปิดตา
           3. เยลลี่ ปีโป้ เส้นก๋วยจั๊บ
           4. ผลไม้ชนิดต่างๆ เช่น กล้วย ส้ม
               แอปเปิ้ล เงาะ เป็นต้น
     การดำเนินกิจกรรม
           กิจกรรมที่เหมาะสมสำหรับเด็กอายุ 3 ปี
     ขั้นนำ
            1.   ครูแนะนำกิจกรรมล้วงกล่อง
     ขั้นกิจกรรม
             2.  ครูให้เด็กแต่ละคนเดินมาล้วงกล่องทั้ง 2 กล่อง
             3.  ครูถามเด็กแต่ละคนว่าของที่อยู่ในกล่องคืออะไร มีลักษณะอย่างไร
     ขั้นสรุป
             4.       ครูกับเด็กร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้รับเกี่ยวกับกิจกรรม
     กิจกรรมที่เหมาะสมสำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี
     ขั้นนำ
             1.  แบ่งกลุ่มให้เท่าๆกัน
             2.  ให้ตั้งแถวตอนลึกตามกลุ่มที่จัดไว้
     ขั้นกิจกรรม
             3.  อธิบายการเล่นเกมส์และสาธิตวิธีการเล่น
                    3.1    ให้แต่ละคนเอามือล้วงไปในกล่องที่เตรียมไว้ให้ โดยในกล่องจะมีผลไม้ชนิดต่างๆและให้จำไว้ว่าในกล่องนั้นมีอะไรบ้าง
                     3.2    เอาผ้าปิดตาและให้ดมของที่เตรียมไว้ให้
                     3.3    ให้กินของที่พี่เตรียมไว้ให้ แล้วให้ให้คิดคำตอบไว้ในใจ     
            4. ให้คนที่ 2 ถึงคนสุดท้าย ทำตามในขั้นตอนที่ 3
           5.  ให้ทั้งกลุ่ม ปรึกษากัน แล้วบอกว่าของทั้งหมดมีอะไรบ้าง
     ขั้นสรุป
            6. ครูและเด็กๆร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับกิจกรรมล้วงกล่อง และถามเด็ก
       คำถาม: สิ่งที่เด็กจับมีพื้นผิวอย่างไร
       คำตอบ: มีผิวขรุขระ,ผิวลื่น,ผิวเรียบ
       คำถาม: สิ่งที่เด็กชิมมีรสชาติอย่างไร
       คำตอบ: เปรี้ยว,หวาน,อร่อย
       คำถาม: สิ่งที่เด็กสัมผัสมีอะไรบ้าง
       คำตอบ: ปีโป้,กระท้อน,เยลลี่
       สรุปผลและมอบรางวัล
     สิ่งที่ปรับปรุง
       1.  เพิ่มเติมขั้นสรุป
       2.  ปรับเวลาให้เหมาะสมกับกิจกรรม

    กิจกรรม : หมวกกันแดดจากจานกระดาษ


     วัสดุ/อุปกรณ์
        1. จานกระดาษ
        2. กาว
        3. เครื่องเจาะตาไก่
        4. สีจากธรรมชาติ
        5. ไหมพรม
        6. กรรไกร
   7. ของตกแต่ง เช่น ใบไม้แห้ง ดอกไม้ กระดาษ                                                                                   
     การดำเนินกิจกรรม 
     วิธีดำเนินกิจกรรม
     ขั้นนำ อายุ 4-5 ปี
        ครูสนทนากับเด็กเกี่ยวกับการทำกิจกรรม พร้อมกับร่วมกันสร้างข้อตกลงในการทำกิจกรรม
    ขั้นสอน
      1. ให้เด็กๆเลือกแบบหมวกที่ตนเองสนใจ
      2. คุณครูตัดแบบหมวกให้เด็กๆ(วัดให้พอดีกับศีรษะ)
      3. ให้เด็กๆตกแต่งหมวกจานกระดาษด้วยสีจากธรรมชาติ
      4. นำใบไม้ หรือดอกไม้ มาตกแต่งหมวกให้สวยงาม โดยให้เหลือส่วนปลายหมวกไว้
     5. ใช้เครื่องเจาะตาไก่ เจาะปลายหมวกทั้งสองข้าง
     6. จากนั้นให้นำไหมพรมมาผูกกับรูที่เราเจาะไว้
   วิธีดำเนินกิจกรรม
    ขั้นนำ อายุ 5-6 ปี 
        ครูสนทนากับเด็กเกี่ยวกับการทำกิจกรรม พร้อมกับร่วมกันสร้างข้อตกลงในการทำกิจกรรมขั้นสอน
     1. ให้เด็กๆเลือกแบบหมวกที่คุณครูได้เตรียมมาให้
     2. ให้เด็กๆใช้กรรไกรตัดทรงหมวกตามเส้น(วัดให้พอดีกับศีรษะ)
     3. ให้เด็กๆตกแต่งหมวกกระดาษด้วยสีเทียน  หรือสีไม้
     4. นำใบไม้แห้ง ดอกไม้ หรือกระดาษ มาตกแต่งหมวกให้สวยงาม โดยให้เหลือส่วนปลายหมวกไว้
     5. ใช้เครื่องเจาะตาไก่ เจาะปลายหมวกทั้งสองข้าง
     6. จากนั้นให้นำไหมพรมมาผูกกับรูที่เราเจาะไว้
   ขั้นสรุป
ครูร่วมสนทนากับเด็กเกี่ยวกับการทำหมวกจากจานกระดาษ และให้เด็กนำเสนอผลงานของตนเองให้เพื่อนๆฟัง

   สิ่งที่ปรับปรุง
       1.เปลี่ยนจากสีอะคริลิคเป็นสีเทียน สีไม้ และสีจากธรรมชาติ
        2.ใช้ของตกแต่งจากธรรมชาติ เช่น ดอกไม้ กิ่งไม้ ใบไม้แห้ง
        3.ให้เด็กนำเสนอผลงานของตนเอง
        4.จัดกิจกรรมให้ดึงดูด น่าสนใจ
   
   กิจกรรม : ดนตรีพาเพลิน

    วัสดุ/อุปกรณ์

       1.ฝาขวด
       2.กระดาษสีโปสเตอร์
       3.กระดาษลัง

       4.กาวร้อน

       5.ขวดแก้ว
       6.เมล็ดพืช
       7.ไม้
       8.กระบอกไม้ไผ่

       9.ลูกแซกไม้
       10.ขวดน้ำ
       11.ลวด

       12.กระดิ่ง

       13.ถุงมือ

     การดำเนินกิจกรรม
        ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
    ขั้นนำ
      1.คุณครูให้นักเรียนจับกลุ่ม กลุ่มละ 5 คนนั่งรวมกันเป็นวงกลม
      2.คุณครูถามนักเรียนว่าเราสามารถนำวัสดุธรรมชาติชิ้นไหนมาใช้ประกอบการสร้างเครื่องดนตรีได้บ้าง
    ขั้นสอน
      1. คุณครูแนะนำกิจกรรมการประดิษฐ์กรับฝาขวด
      2. คุณครูแนะนำวัสดุอุปกรณ์ในการทำแต่ละชิ้นในการประดิษฐ์ดังนี้    1).ฝาขวด 2).กระดาษสีโปสเตอร์        3).กระดาษลัง 4).กาวร้อน
      3.คุณครูให้นักเรียนพับกระดาษลังให้ทบกัน แล้วนำกระดาษโปสเตอร์มาติดกาวด้านหลังกระดาษลัง
      4.คุณครูให้นักเรียน แล้วนำกาวร้อนที่ได้จากคุณครูติดกับฝาน้ำอัดลม จากนั้นจึงรอให้กาวแห้ง
      5. คุณครูจึงให้นักเรียนลองเล่นกรับฝาขวดโดนจับเป็นจังหวะ 


       6.คุณครูให้นักเรียนเลือกเครื่องดนตรีจากวัสดุชิ้นอื่นๆมาประกอบดนตรีร่วมกัน

    ขั้นสรุป

         - คุณครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับเครื่องดนตรีกรับฝาขวดว่า เป็นเครื่องประเภทที่นำของสิ่งมากระทบกันแล้วถามนักเรียนว่า เครื่องดนตรีกรับฝาขวดมีเสียงอย่างไรบ้างคะ”      

        - คุณครูให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันว่า นอกจากนี้ยังสามารถนำวัสดุอะไรมาใช้ทำเป็นเครื่องดนตรีได้อีกบ้างคะ                                                


    สิ่งที่ปรับปรุง
   - ลดขั้นตอนในการประดิษฐ์ให้สั้นลง
   - ปรับเปลี่ยนกาวร้อนเป็นกาวชนิดอื่นให้กระชับเวลาในการใช้
   - ปรับเปลี่ยนวัสดุอุปกรณ์เพิ่มเติมที่ให้เด็กได้ประดิษฐ์ขึ้นมาด้วยตัวเองตั้งแต่เริ่มต้นเพื่อให้เด็กได้รู้สึกภาคภูมิใจในการเป็นเจ้าของผลงาน




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น