กลุ่มที่ 5
พัฒนาการและการเรียนรู้ทางการคิด
พัฒนาการและการเรียนรู้ทางการคิด
ของเด็กปฐมวัย
การคิด หมายถึง
การทำงานของสมองที่นำข้อมูลจากการรับรู้มาสัมพันธ์กับประสบการณ์
เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ตัดสินใจหรือแก้ปัญหาได้
ซึ่งการคิดและผลของการคิดจะอยู่ในรูปพฤติกรรมต่างๆ
จุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์
1. เพื่อให้เด็กคิดได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล
2. เพื่อให้เด็กสามารถคิดแก้ปัญหาได้
3. เพื่อให้เด็กคิดอย่างมีวิจารณญาณ
แนวคิด/ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
พีอาเจท์
แนวคิด : พัฒนาการทางเชาว์ปัญญาของเด็กเกิดจากการที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมรอบๆตัวเด็ก
เรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมใหม่ๆที่เกิดขึ้นตลอดเวลาและมีการปรับขยายประสบการณ์เดิม
- ระยะสัมผัสและการเคลื่อนไหว
(แรกเกิด–2 ปี)
- เด็กเรียนรู้ทุกอย่างทางประสาทสัมผัสทุกด้าน
-
ระยะความคิดก่อนปฏิบัติการ (2-6ปี) เริ่มเรียนภาษาพูดและภาษาท่าทางในการสื่อสาร
ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง คิดหาเหตุผลไม่ได้
บรูเนอร์
แนวคิด : 1. เด็กจะเรียนรู้ด้วยจากการกระทำมากที่สุด
2. เด็กเกิดการคิดแบบนึกรู้ 3. เด็กเกิดความคิดจากการรับรู้เป็นส่วนใหญ่
อาจจะมีจินตนาการบ้างแต่ยังไม่สามารถคิดได้ลึกซึ้ง
ทฤษฎี : 1. ขั้นการกระทำ 2. ขั้นคิดจินตนาการหรือสร้างมโนภาพ 3. ขั้นใช้สัญลักษณ์และคิดรวบยอด
โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์
สติปัญญาของมนุษย์มีหลายด้านที่มีความสำคัญเท่าเทียมกัน
ขึ้นอยู่กับว่าใครจะโดดเด่นในด้านไหนบ้าง แล้วแต่ละด้านผสมผสานกัน
แสดงออกมาเป็นความสามารถในเรื่องใด เป็นลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละคน
พหุปัญญา 9 ด้าน มีดังนี้ 1.
ปัญญาด้านภาษา 2. ปัญญาด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ 3.
ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ 4. ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว 5. ปัญญาด้านดนตรี 6.
ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์ 7. ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง 8. ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา 9.
ความฉลาดในการคิดใคร่ครวญ
พุทธศาสตร์
แนวคิด : ผู้เรียนสามารถสร้าง
ความคิด ของตนเองออกมาเป็นรูปธรรม โดยใช้สื่อการสร้างความรู้ด้วยตนเอง
และถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจในความคิดของตนเองได้ ตลอดจนนำความคิดเดิมไปสร้าง
ความรู้ ใหม่ต่อไปไม่สิ้นสุด ความคิดต้องมีขอบเขตและอยู่ในกรอบของศีลธรรมและอยู่ภายใต้กฎแห่งความจริง
5 ประการ คือ ความคิดนั้นต้อง ดี ถูกต้อง เป็นประโยชน์
แก้ปัญหาหรือทำให้คลายทุกข์ได้ และเป็นสิ่งที่คนทั่วไปปฏิบัติได้
แนวทางการจัดประสบการณ์
1. เหมาะสมกับพัฒนาการเด็ก
ให้เด็กเรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรม ใช้สื่อที่เป็นของจริง
2. เหมาะสมกับการเรียนรู้ของเด็ก
ให้เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ได้เล่น ได้ลงมือกระทำสิ่งต่างๆ
ผ่านประสาททั้งห้า
3. ให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
เด็กมีโอกาสทำงานร่วมกันทั้งกลุ่มใหญ่และกลุ่มย่อย
4. เปิดโอกาสให้เด็กได้คิดและทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
เป็นความสามารถในการทำความเข้าใจความสัมพันธ์ของ สิ่งต่างๆ
สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์จากเหตุไปหาผล และสามารถคิดหาคำตอบที่เป็นเหตุและเป็นผล
โดยใช้หลักการหรือข้อมูลที่มาจากประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่มาเป็นฐานข้อมูลในการคิด
ช่วยให้เด็กสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆได้ดีและสามารถดำรงชีวิตได้อย่างราบรื่น
การคิดแก้ปัญหา
เป็นการนำความรู้และประสบการณ์เดิมมาใช้ในการคิดหาวิธีการ ที่ทำให้ปัญหาหมด
การคิดแก้ปัญหาช่วยให้เด็กสามารถแก้ปัญหาที่
เผชิญในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล้าเผชิญกับปัญหา
สามารถดำรงชีวิตและปรับตัวอยู่ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างสงบสุข
การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
เป็นการคิดพิจารณา
ไตร่ตรองข้อมูลอย่างรอบด้านก่อนตัดสินใจว่าสิ่งใดควรเชื่อ สิ่งใดควรทำ
โดยไม่ด่วนสรุปตัดสินใจ การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณจะช่วยให้เด็กสามารถเลือกรับข้อมูลที่มีความเหมาะสมและเป็นประโยชน์
ในการดำเนินชีวิตประจำวัน
การประเมินพัฒนาการ
1. ด้านการคิดเชิงเหตุผล
วิธีการประเมิน คือ การสังเกต การสนทนา และการทดสอบ เครื่องมือที่ใช้ คือ
แบบบันทึกการสังเกต แบบบันทึกการสนทนา
แบบทดสอบที่ให้เด็กลงมือปฏิบัติและแบบบันทึกการให้เหตุผล
2. ด้านการคิดแก้ปัญหา
วิธีการประเมิน คือ ใช้การสังเกตและบันทึกพฤติกรรม และการทดสอบ เครื่องมือที่ใช้
คือ แบบบันทึกพฤติกรรม แบบทดสอบโดยใช้สถานการณ์ และแบบบันทึกคำตอบ
3. ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
วิธีการประเมิน คือ การสนทนา และการทดสอบโดยใช้สถานการณ์และนิทาน
เครื่องมือที่ใช้คือ แบบบันทึกการสนทนา แบบ ทดสอบ และแบบบันทึกคำตอบ
กิจกรรมสีของใบไม้
วัตถุประสงค์ของกิจกรรม
1. เพื่อให้เด็กมีทักษะกระบวนการทางการคิด
2. เพื่อฝึกให้เด็กเกิดพัฒนาการทางการคิดจากการกระทำหรือได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง
3. เพื่อฝึกให้เด็กคิดอย่างมีเหตุผลจากการทำกิจกรรม
4. เพื่อฝึกการใช้ประสาทสัมผัสระหว่างมือกับตา
สื่อ/วัสดุอุปกรณ์
1.ใบไม้
2.
กระดาษเฉดสี
3.
พู่กัน
4.
สีน้ำ
5.
กระดาษแข็ง
เพลงกิ่งก้านใบ
“กิ่งก้านใบ ชะ ชะ ใบก้านกิ่ง
กิ่งก้านใบ ชะ ชะ ใบก้านกิ่ง
ฝนตกลงมาจริงๆ ฝนตกลงมาจริงๆ
ชะ ชะ กิ่งก้านใบ”
วิธีการดำเนินกิจกรรม
ช่วงอายุ 4-5 ปี
ขั้นนำ
1.ครูให้นักเรียนนั่งเป็นวงกลมและแนะนำเพลงที่ใช้ในการทำกิจกรรมในครั้งนี้
โดยใช้เพลงกิ่งก้านใบ ซึ่งครูจะร้องให้ฟัง 1 รอบ
2.จากนั้นให้นักเรียนร้องตามครูทีละท่อน และครั้งสุดท้ายร้องพร้อมกัน พร้อมทำท่าทางประกอบเพลง
3. ครูให้เด็กเริ่มทำกิจกรรม
ขั้นดำเนินกิจรรม
1. ครูอธิบายอุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรมสีของใบไม้ให้เด็กฟัง
2. ครูนำเด็กๆทำกิจกรรมสีของใบไม้ร่วงดังนี้
- ครูให้เด็กๆไปหยิบกระดาษเฉดสีคนละ
1 แผ่น
- จากนั้นครูให้เด็กๆหยิบใบไม้ในกล่องคนละ 2-3 ใบ
- ให้เด็กๆนำใบไม้มาเปรียบเทียบกับกระดาษเฉดสีแล้วสังเกตดูว่าตนเองหยิบใบไม้มาเปรียบเทียบในกระดาษเฉดสี
ขั้นสรุป
1. ครูพูดคุยสนทนาเกี่ยวกับกิจกรรมสีของใบไม้ร่วง
2. ครูให้เด็กออกมาเล่าถึงกิจกรรมที่ตนได้ทำ
การประเมิน
1. สังเกตพฤติกรรมเด็กขณะปฏิบัติกิจกรรม
ช่วงอายุ 5 – 6 ปี
ขั้นนำ
1.
ครูให้นักเรียนนั่งเป็นวงกลมและแนะนำเพลงที่ใช้ในการทำกิจกรรมในครั้งนี้
โดยใช้เพลงกิ่งก้านใบ ซึ่งครูจะร้องให้ฟัง 1 รอบ
2. จากนั้นให้นักเรียนร้องตามครูทีละท่อน
และครั้งสุดท้ายร้องพร้อมกัน
พร้อมทำท่าทางประกอบเพลง
3. ครูให้เด็กเริ่มทำกิจกรรม
ขั้นดำเนินกิจรรม
1. ครูอธิบายอุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรมสีของใบไม้ให้เด็กฟัง
2. ครูนำเด็กๆทำกิจกรรมสีของใบไม้ร่วงดังนี้
- ครูให้เด็กๆไปหยิบกระดาษเฉดสีคนละ
1 แผ่น
- จากนั้นครูให้เด็กๆหยิบใบไม้ในกล่องคนละ
2-3 ใบ
- ให้เด็กๆนำใบไม้มาเปรียบเทียบกับกระดาษเฉดสีแล้วสังเกตดูว่าตนเองหยิบใบไม้มาเปรียบเทียบในกระดาษเฉดสี
- จากนั้นให้เด็กลองผสมสีน้ำดูว่า
ผสมสีอะไรจะได้สีเดียวกับใบไม้ที่ตนเองหยิบมา
ขั้นสรุป
1. ครูพูดคุยสนทนาเกี่ยวกับกิจกรรมสีของใบไม้ร่วง
2. ครูให้เด็กออกมาเล่าถึงกิจกรรมที่ตนได้ทำ
การประเมิน
1. สังเกตพฤติกรรมเด็กขณะปฏิบัติกิจกรรม
ประโยชน์ของกิจรรม
1. เด็กได้ทักษะการคิดจากการทำกิจกรรมและการคิดอย่างมีเหตุผล
2. เด็กได้ฝึกประสาทสัมผัสระหว่างมือกับตา
3. เด็กรู้จักการคิดและการสังเกต
4. เด็กมีความกล้าแสดงออกและความมั่นใจในตนเองมากขึ้น
กิจกรรมคลำดูจะรู้ได้
วัตถุประสงค์ของกิจกรรม
1. เพื่อให้เด็กสามารถบอกลักษณะของพื้นผิวที่สัมผัสจากการคลำได้
2. เพื่อสื่อสารบอกลักษณะของสิ่งที่สัมผัส เช่น
นุ่ม
เรียบ แข็งได้
3. เพื่อฝึกให้เด็กมีไหวพริบ
วิธีการดำเนินกิจกรรม
ช่วงอายุ
(4-5) ปี
ขั้นนำ
•
คุณครูให้เด็กนั่งเป็นแถวและเด็กๆได้ร่วมกันร้องเพลงเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการเข้าสู่กิจกรรมไปพร้อมกับคุณครูโดยใช้เพลง
(*จับไวไว)ซึ่งครูจะร้องไห้ฟัง
1 รอบ
• ครูนำกล่องปริศนามาให้เด็กสังเกต โดยยังไม่ให้เด็กเข้ามาสัมผัสหรือเข้ามาดูใกล้ๆ
แล้วถามคำถาม เช่น
• เด็กๆ จะทราบได้อย่างไรว่า
มีสิ่งใดอยู่ในกล่อง สิ่งที่อยู่ในกล่องคือ (ตุ๊กตาหมี ผลสับปะรด ไม้บล็อก)
•
เด็กๆต้องใช้อวัยวะใดในการสัมผัสแล้วจะบอกได้ว่าสิ่งที่อยู่ในกล่องนี้มีผิวสัมผัสนุ่ม
เรียบ หรือแข็ง
ขั้นกิจกรรม
• ครูเตรียมอุปกรณ์กล่องปริศนาในการทดลองผิวสัมผัส
โดยในกล่องจะมีสิ่งของที่มีพื้นผิวต่างๆ ให้เด็ก ได้ทดลองคลำและสัมผัส คือ
ตุ๊กตาหมี ผลสับปะรด ไม้บล็อก
•
ครูได้นำผ้าปิดตากับเด็กแล้วให้เด็กได้ออกมาสัมผัสสิ่งที่อยู่ในกล่องปริศนาครั้งละ
1 คน แล้วให้เด็กได้อธิบายว่าสิ่งที่เด็กๆ
ได้สัมผัสมีพื้นผิว เป็นอย่างไร
• ครูให้เด็กช่วยกันแสดงความเห็นว่าแต่ละกล่องมีผิวสัมผัสเป็นอย่างไร
และคิดว่าสิ่งที่อยู่ในกล่องคืออะไร
ขั้นสรุป
•
ครูเฉลยคำตอบในกล่องปริศนาทีละกล่อง
แล้วให้เด็กได้สัมผัสสิ่งของในกล่องอีก 1 ครั้ง
•
ครูและเด็กร่วมกันสรุปเกี่ยวกับการสัมผัสผิวสิ่งต่างๆ
ช่วงอายุ
(5-6ปี)
ขั้นนำ
•
คุณครูให้เด็กนั่งเป็นแถวและเด็กๆได้ร่วมกันร้องเพลงเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการเข้าสู่กิจกรรมไปพร้อมกับคุณครูโดยใช้เพลง
(*จับไวไว)ซึ่งครูจะร้องไห้ฟัง 1 รอบ
•
ครูนำกล่องปริศนามาให้เด็กสังเกต
โดยยังไม่ให้เด็กเข้ามาสัมผัสหรือเข้ามาดูใกล้ๆ แล้วถามคำถาม เช่น
• เด็กๆ จะทราบได้อย่างไรว่า
มีสิ่งใดอยู่ในกล่อง สิ่งที่อยู่ในกล่องคือ (ตุ๊กตาหมี ผลสับปะรด ไม้บล็อก)
•
เด็กๆต้องใช้อวัยวะใดในการสัมผัสแล้วจะบอกได้ว่าสิ่งที่อยู่ในกล่องนี้มีผิวสัมผัสนุ่ม
เรียบ หรือแข็ง
ขั้นกิจกรรม
• ครูเตรียมอุปกรณ์กล่องปริศนาในการทดลองผิวสัมผัส
โดยในกล่องจะมีสิ่งของที่มีพื้นผิวต่างๆ ให้เด็ก ได้ทดลองคลำและสัมผัส คือ
ตุ๊กตาหมี ผลสับปะรด ไม้บล็อก
•
ครูได้ให้เด็กได้ออกมาสัมผัสสิ่งที่อยู่ในกล่องปริศนาโดยไม่มีผ้าปิดตาครั้งละ
1 คน แล้วให้เด็กได้อธิบายว่าสิ่งที่เด็กๆ
ได้สัมผัสมีพื้นผิว เป็นอย่างไร
•
ครูให้เด็กช่วยกันแสดงความเห็นว่าแต่ละกล่องมีผิวสัมผัสเป็นอย่างไร
และคิดว่าสิ่งที่อยู่ในกล่องคืออะไร
ขั้นสรุป
•
ครูเฉลยคำตอบในกล่องปริศนาทีละกล่อง
แล้วให้เด็กได้สัมผัสสิ่งของในกล่องอีก 1 ครั้ง
•
ครูและเด็กร่วมกันสรุปเกี่ยวกับการสัมผัสผิวสิ่งต่างๆ
สื่อ/วัสดุอุปกรณ์
2.ตุ๊กตาหมี
3.สัปปะรด
4.ไม้บล็อก
5. เพลง จับไวๆ
เพลง จับไวๆ
(ไม่ทราบนามผู้แต่ง)
จับหัว คาง คิ้ว หัวไหล่ จับไวๆ จับจมูก ปาก ตา จับแขน
จับขา แล้วก็จับสะดือ (ร้องซ้ำๆ
แต่จังหวะ
ไวขึ้นตามลำดับ)
ประโยชน์ของกิจกรรม
กิจกรรมรูปทรงแปลงร่าง
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เกิดสมาธิ และจดจ่อกับสิ่งที่ทำ
2. เพื่อให้เกิดการสร้างความคิดและจินตนาการจากสิ่งที่สร้างขึ้น
3. เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
4. เพื่อให้เกิดความกล้าคิด กล้าตัดสินใจในการทำกิจกรรม
สื่อ/วัสดุอุปกรณ์
รูปทรงเรขาคณิต
ช่วงอายุ 4-5 ปี
ขั้นดำเนินกิจกรรม
ขั้นนำ
1. ให้นักเรียนนั่งเป็นวงกลม
2. ครูพานักเรียนทำbrain gym ก่อนเริ่มกิจกรรมเพื่อให้เกิดสมาธิในการทำกิจกรรม
3. เมื่อนักเรียนพร้อมจึงเริ่มทำกิจกรรม
ขั้นสอน
1. คุณครูนำรูปทรงเรขาคณิตมาให้เด็กๆดู
2. คุณครูให้รูปทรงเรขาคณิตแก่เด็กๆ
และให้เด็กๆหยิบรูปทรงคนละ 1 ชิ้น
3. ให้เด็กๆส่งต่อรูปทรงเรขาคณิตให้แก่กัน โดยการส่งต่อรูปทรงนั้น
ให้นักเรียนรับไหว้เพื่อนก่อนรับรูปทรงเรขาคณิตจากเพื่อน
4. เมื่อได้รูปทรงเรขาคณิตครบทุกคนแล้วให้เด็กๆนำรูปทรงที่ตนเลือก
ไปวางต่อกันในจุดที่กำหนดให้ทีละคน
ขั้นสรุป
-
ครูให้เด็กร่วมกันแสดงความคิดเกี่ยวกับรูปภาพที่ร่วมสร้างขึ้นว่าเป็นภาพอะไร
ทำไมถึงคิดว่าเป็นรูปนี้ ให้อธิบาย
-
เมื่อสิ้นสุดกิจกรรม ครูให้นักเรียนกอดกัน เพื่อแสดงความรัก ความอบอุ่นและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจากการทำกิจกรรมร่วมกัน
ช่วงอายุ 5-6 ปี
ขั้นดำเนินกิจกรรม
ขั้นนำ
1.
ให้นักเรียนนั่งเป็นวงกลม
2.
ครูพานักเรียนทำ
brain gym ก่อนเริ่มกิจกรรมเพื่อให้เกิดสมาธิในการทำกิจกรรม
3.
เมื่อนักเรียนพร้อมจึงเริ่มทำกิจกรรม
ขั้นสอน
1. คุณครูนำรูปทรงเรขาคณิตมาให้เด็กๆดู
2.
คุณครูให้รูปทรงเรขาคณิตแก่เด็กๆ และให้เด็กๆหยิบรูปทรงคนละ 1 ชิ้น
3. ให้เด็กๆส่งต่อรูปทรงเรขาคณิตให้แก่กัน
โดยการส่งต่อรูปทรงนั้น ให้นักเรียนรับไหว้เพื่อนก่อนรับรูปทรงเรขาคณิตจากเพื่อน
4. เมื่อได้รูปทรงเรขาคณิตครบทุกคนแล้ว ให้เด็กๆนำรูปทรงที่ตนเลือก
ไปวางต่อกันในจุดที่กำหนดให้ทีละคน จนครบ และเกิดเป็นรูปร่าง
ขั้นสรุป
-
ครูให้เด็กแต่ละคนแสดงความคิดเกี่ยวกับรูปภาพที่ร่วมสร้างขึ้นว่าเป็นภาพอะไร ทำไมถึงคิดว่าเป็นรูปนี้
ให้อธิบาย
-
เมื่อสิ้นสุดกิจกรรม ครูให้นักเรียนกอดกัน เพื่อแสดงความรัก
ความอบอุ่นและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจากการทำกิจกรรมร่วมกัน
การประเมินผล
1.
สังเกตพฤติกรรมขณะเด็กปฏิบัติกิจกรรม
2.
สังเกตการตอบคำถาม การสนทนา โต้ตอบ
3.
สังเกตการนำเสนอผลงาน
ประโยชน์จากการทำกิจกรรม
1. เด็กมีสมาธิมากขึ้นจากการทำกิจกรรม
2. เด็กๆได้เกิดความกล้าแสดงออก
3.
เด็กๆได้แสดงความคิดเห็นและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น
4.
ได้ฝึกกระบวนการการทำงานกลุ่ม มีส่วนร่วมซึ่งกันและกัน
5.
ได้เกิดความคิดและจินตนาการจากสิ่งที่ตนเห็น และสามารถสื่อออกมาให้ผู้อื่นทราบได้ว่าตนต้องการสื่ออะไร
กิจกรรม
ตาราง 9 ช่อง
วัตถุประสงค์ของกิจกรรม
1. เพื่อให้เด็กมีทักษะการคิดให้เหตุผล
2. เพื่อฝึกให้เด็กสื่อความหมายด้วยคำพูดและท่าทาง
3. เพื่อฝึกให้เด็กมีไหวพริบ
มีความคล่องแคล่ว ว่องไว
4. เพื่อปลูกฝังให้เด็กกล้าแสดงออกในการเลียนเสียงและท่าทางสัตว์
สื่อ/วัสดุอุปกรณ์
1. ตาราง 9 ช่อง
2. บัตรภาพ
3. เพลงลูกสัตว์
เพลงลูกสัตว์
ลูกเป็ดมันร้องก้าบก้าบ
ลูกไก่มันร้องเจี๊ยบเจี๊ยบ
ลูกหมาเห่าบ๊อกบ๊อกบ๊อก
ลูกแมวก็ร้องเหมียวเหมียว
ลูกหมูมันร้องอู๊ดอู๊ด
ลูกกบมันร้องอ๊บอ๊บ
ลูกนกร้องจิ๊บจิ๊บจิ๊บ
ลูกวัวก็ร้องมอมอ
วิธีการดำเนินกิจกรรม
ช่วงอายุ 4-5 ปี
ขั้นนำ
1.
ครูให้นักเรียนนั่งเป็นแถวและแนะนำเพลงที่ใช้ในการทำกิจกรรมในครั้งนี้
โดยใช้เพลงลูกสัตว์ ซึ่งครูจะร้องให้ฟัง 1 รอบ
2. จากนั้นให้นักเรียนร้องตามครูทีละท่อน
และครั้งสุดท้ายร้องพร้อมกัน
พร้อมทำท่าทางประกอบตามจินตนาการ
3. ครูแบ่งเด็กออกเป็น 2
กลุ่มและเริ่มทำกิจกรรม
ขั้นดำเนินกิจรรม
1. ครูอธิบายวิธีการเล่นให้เด็กฟัง
2. ครูเริ่มกิจกรรม
- ครูให้เด็กแต่ล่ะกลุ่มเรียงแถวและเล่นตาราง 9
ช่องทีละคน
- ครูหยิบบัตรภาพในกล่องพูดให้เด็กทั้ง 2 กลุ่ม
ได้ยินและดูภาพประกอบ จากนั้นให้เด็กทั้ง 2
กลุ่มวิ่งไปในช่องว่างแล้วก้าวไปบนรูปภาพสัตว์พร้อมทำท่าทางของสัตว์ตามจินตนาการ
- คนไหนทำเสียงหรือท่าทางประกอบเสร็จแล้วให้วิ่งกลับไปหาเพื่อน
- เมื่อเล่นจนครบทุกคนแล้ว
ครูให้เด็กนั่งพักเพื่อผ่อนคลาย
ขั้นสรุป
1. ครูพูดคุยสนทนาเกี่ยวกับกิจรรมที่ได้ทำในครั้งนี้
2. ครูหยิบภาพให้นักเรียนดูพร้อมทำท่าทางและเสียงประกอบของสัตว์แต่ละชนิดพร้อมกัน
การประเมินผล
1. สังเกตพฤติกรรมเด็กขณะปฏิบัติกิจกรรม
2. สังเกตการเลียนแบบท่าทางของสัตว์
ช่วงอายุ 5 – 6 ปี
ขั้นนำ
1. ครูให้นักเรียนนั่งเป็นแถวและแนะนำเพลงที่ใช้ในการทำกิจกรรมในครั้งนี้
โดยใช้เพลงลูกสัตว์ ซึ่งครูจะร้องให้ฟัง 1 รอบ
2. จากนั้นให้นักเรียนร้องตามครูทีละท่อน
และครั้งสุดท้ายร้องพร้อมกัน
พร้อมทำท่าทางประกอบตามจินตนาการ
3. ครูแบ่งเด็กออกเป็น 2 กลุ่มและเริ่มทำกิจกรรม
ขั้นดำเนินกิจรรม
1.
ครูอธิบายวิธีการเล่นให้เด็กฟัง
2.
ครูเริ่มกิจกรรม
- ครูให้เด็กแต่ล่ะกลุ่มเรียงแถวและเล่นตาราง 9
ช่องทีละคน
- ครูหยิบบัตรภาพในกล่องและพูดให้เด็กทั้ง 2 กลุ่ม
ได้ยิน จากนั้นให้เด็กทั้ง 2 กลุ่มวิ่งไปในช่องว่างแล้วกระโดดไปบนรูปภาพสัตว์พร้อมทำท่าทางและเสียงของสัตว์ตามจินตนาการ
- คนไหนทำเสียงและท่าทางประกอบเสร็จแล้วให้วิ่งกลับไปหาเพื่อน ใครถึงก่อนถือว่าได้คะแนน
- เมื่อเล่นจนครบทุกคนแล้ว
จะมีการนับคะแนนรวมหาทีมที่ได้คะแนนเยอะที่สุด
- เมื่อได้ทีมที่มีคะแนนเยอะที่สุดแล้ว ครูให้ทีมคะแนนมากหยิบบทลงโทษในกล่อง
เพื่อให้ทีมคะแนนน้อยออกมาเลียนเสียงและท่าทางสัตว์ที่ได้
1. ครูพูดคุยสนทนาเกี่ยวกับกิจรรมที่ได้ทำในครั้งนี้
2. ครูหยิบภาพให้นักเรียนดูพร้อมทำท่าทางและเสียงประกอบของสัตว์แต่ละชนิด
การประเมินผล
1.
สังเกตพฤติกรรมเด็กขณะทำกิจกรรม
2. สังเกตการเลียนแบบเสียงและท่าทางของสัตว์
ประโยชน์ของกิจรรม
2. เด็กได้สื่อความหมายด้วยคำพูดและท่าทาง
3. เด็กมีไหวพริบ
มีความคล่องแคล่ว ว่องไว
4. เด็กมีความกล้าแสดงออก
ในการเลียนเสียงและท่าทางสัตว์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น