วันอังคารที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ด้านภาษา




กลุ่มที่ 4

พัฒนาการและการเรียนรู้ทางด้านภาษาของเด็กปฐมวัย

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
          1. นักพฤติกรรมศาสตร์ (The Behaviorist View) “การเรียนรู้ภาษาของเด็กเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากผลการปรับสิ่งแวดล้อม”
          2. ภาวะติดตัวโดยกำเนิด (The Nativist View) ชอมสกี้และแมคนีล เชื่อว่า เด็กทุกคนเกิดมาโดยมีโครงสร้างทางภาษาศาสตร์อยู่ในตัวหรือติดตัวโดยกำเนิด  เล็นเบิร์ก กล่าวว่า เด็กเกิดมาด้วยความสามารถทางภาษา มิใช่เป็นผ้าขาว ความสามารถทางการเรียนภาษาของเด็กถูกจัดโปรแกรมไว้ในตัว และมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่เด็กได้รับ
          3. นักสังคมศาสตร์  (The Socialist Viewวิธีการที่ผู้ใหญ่หรือพ่อแม่ปฏิบัติต่อเด็กมีผลต่อพัฒนาการทางภาษาและพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก
          4. พัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์  (Piaget Theory) พัฒนาการทางภาษาของเด็กเป็นไปพร้อมๆกับความสามารถด้านการให้เหตุผล           การตัดสิน และด้านตรรกศาสตร์
          5. ทฤษฎีของนักจิตวิทยาภาษาศาสตร์ (PsycholinguisticsTheory) ชอมสกี้ (Chomskey)กล่าวว่า การเรียนรู้ภาษาเป็นเรื่องซับซ้อนซึ่งจะต้องคำนึงถึงโครงสร้างภาษาในตัวเด็กด้วย  เล็นเบอร์ก (Lenneberg) เชื่อว่า มนุษย์มีอวัยวะที่พร้อมสำหรับการเรียนรู้ภาษา

ปัทมา  คุณเวทยว์ริยะ.  (2549).  ความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับกิจกรรมการเรียนรู้แบบจิตปัญญาโดยใช้สื่อไม่มีโครงสร้าง.  สาขาวิชาการศึกษา
          ปฐมวัย :   มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวโรฒ.
กิจกรรม
1.สัมผัสอะไรช่วยบอกที

วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการพูด
ของเด็กปฐมวัย
2. เพื่อส่งเสริมทักษะการประสาทสัมผัสระหว่าง
มือกับตาของเด็กปฐมวัย
3. เพื่อส่งเสริมจินตนาการของเด็กปฐมวัย

สื่อวัสดุ/อุปกรณ์
1. สําลี
2. ใยสังเคราะห์
3. ลูกโป่ง
4. ถุงพลาสติกกันกระแทก
5. หลอด

การวัดผลประเมินผล
สังเกตและบันทึกพฤติกรรมการทํากิจกรรมของเด็กปฐมวัย โดยใช้แบบประเมินพัฒนาการ

ขั้นดําเนินกิจกรรมสําหรับเด็กอายุ 4-5 ปี
ขั้นนำ
1. ครูให้เด็กนั่งเป็นตัวยูและกล่าวทักทายกัน
2. ครูแนะนํากิจกรรม
3. ครูนําสื่อมาให้เด็กดูและพูดคุยเกี่ยวกับลักษณะของ
สื่อที่นํามา
ขั้นสอน
1. ครูให้เด็กคนแรกออกมาสัมผัสสื่อที่ครูนํามาโดยเริ่มจากซ้ายมือครู
2. เด็กใช้มือสัมผัสสื่อลักษณะต่าง ๆ ทีละชนิดโดยครูถามเด็ก “หนูรู้จักสิ่งนี้ไหม บอกได้ไหมว่าสิ่งนี้คือ
อะไร มีลักษณะอย่างไร หนูรู้สึกอย่างไรเมื่อได้สัมผัสสิ่งนี้”
3. เมื่อเด็กสัมผัสจนครบทุกชนิด ครูถามเด็ก “หนูชอบสื่อที่ครูนํามาวันนี้ไหม ชอบเพราะเหตุใด”
ขั้นสรุป
1. ครูและเด็กพูดคุยเกี่ยวกับสําลี ใยสังเคราะห์ ลูกโป่ง ถุงพลาสติกกันกระแทก และหลอด
2. ครูและเด็ก ๆ ช่วยกันเก็บอุปกรณ์อย่างระมัดระวัง

ขั้นดําเนินกิจกรรมสําหรับเด็กอายุ 5-6 ปี
ขั้นนํา
1. ครูให้เด็กนั่งเป็นตัวยูและกล่าวทักทายกัน
2. ครูแนะนํากิจกรรม
3. ครูนําสื่อมาให้เด็กดู พูดคุยเกี่ยวกับลักษณะของสื่อและถามประสบการณ์เดิมของเด็กเกี่ยวกับสื่อที่ครูนํามา
ขั้นสอน
1. ครูให้เด็กคนแรกออกมาสัมผัสสื่อที่ครูนํามา โดยเริ่มจากซ้ายมือครู
2. เด็กใช้มือสัมผัสสื่อลักษณะต่าง ๆ ทีละชนิดโดยครูถามเด็ก “หนูรู้จักสิ่งนี้ไหม บอกได้ไหมว่าสิ่งนี้คืออะไร มีลักษณะอย่างไร หนูรู้สึกอย่างไรเมื่อได้สัมผัสสิ่งนี้หนูบอกครูได้ไหมว่าสิ่งนี้หนูสามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร”
3. เมื่อเด็กสัมผัสจนครบทุกชนิด ครูถามเด็ก “หนูชอบสื่อที่ครูนํามาวันนี้ไหม ชอบเพราะเหตุใด”
ขั้นสรุป
1. ครูและเด็กร่วมกันอภิปรายผลเกี่ยวกับสําลี ใยสังเคราะห์ ลูกโป่ง ถุงพลาสติกกันกระแทก
และหลอด
2. ครูและเด็ก ๆ ช่วยกันเก็บอุปกรณ์อย่างระมัดระวัง

กิจกรรมที่2
กิจกรรมต่อเติมเส้นให้เป็นเรื่อง

สาระสําคัญ
   ภาษามีความสําคัญต่อการเรียนรู็ของเด็กปฐมวัยเป็นอย่างมาก เด็กจําเป็นจะต้องเรียนรู้ภาษาเพื่อใช้ใน
การสื่อความหมาย การคิด จินตนาการ การแสดงออกและการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเด็กจะต้องมีความพร้อมทางภาษาในด้าน การฟัง อ่าน และเขียนไปพร้อมๆกัน อย่างมีความหมายเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการครบทุกด้าน เป็นไปตามขั้นตอนอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม และสามารถใช้เปฺ็นเครื่องมือในการเรียนรู้สิ่งต่างๆดังนั้น ผู้จัดทําจึงได้จัดกิจกรรมต่อเติมเส้นให้เป็นเรื่องเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย โดยบูรณาการพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัยกับทฤษฏีของทอร์แรนซ์ที่เขาได้ให้ความสําคัญกับกระบวนการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์

วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นพื้นฐานในการเขียนและเด็กได้ถ่ายทอดความรูู้สึกเมื่อเห็นภาพที่ตนวาดผ่านการพูด
2. เพื่อฝึกความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ การทํางานเป็นกลุ่ม ยอมรับความคิดเห็นและสนุกสนานใน
การทํากิจกรรม

วัสดุ/อุปกรณ์
1. กระดาษชาร์ทที่มีเส้นลักษณะต่างๆจํานวน 7 เส้น
2. ดินสอ สีเทียน สีไม้

ขั้นตอนการจัดกิจกรรม อายุ 4-5 ปี

ขั้นนํา
1. ครูเตรียมความพร้อมของเด็กโดยใช้กิจกรรมเพลงผึ้งน้อยหารัง เพื่อให้เด็กได้แบ่งกลุ่ม
2. เมื่อเด็กได้กลุ่มแล้วครูแจกอุปกรณ์สําหรับการทํากิจกรรมต่อเติมเส้นให้เป็นเรื่อง
ขั้นสอน
1. ครูอธิบายกิจกรรมดังนี้
1.1 ให้เด็กต่อเติมเส้นลักษณะต่างๆจํานวน 7 เส้น ที่ครูได้เขียนไว้บนกระดาษเป็นรูปต่างๆตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
2. เด็กลงมือปฏิบัติกิจกรรม
3. เมื่อเด็กๆลงมือปฏิบัติกิจกรรมเสร็จเรียบร้อยแล้วคุณครูให้เด็กๆเล่าสิ่งที่เด็กๆวาดว่าทําไมถึงต่อเส้นนี้เป็นภาพนี้ทีละกลุ่ม
ขั้นสรุป
1. เมื่อเด็กๆปฏิบัติกิจกรรมเรียบร้อยแล้ว คุณครูสรุปกิจกรรมโดยใช้คําถามเพื่อให้เด็กได้แสดงออกทางการพูดของเด็กๆว่า “เด็กๆคะเส้นนี้เด็กๆวาดเป็นรูปอะไรคะ” “แล้วทําไมเด็กๆถึงวาดรูปนี้” และครูสรุปการทํากิจกรรมอีกครั้ง

อายุ 5-6 ปี
วัสดุ/อุปกรณ์
1. กระดาษชาร์ทที่มีเส้นลักษณะต่างๆจํานวน 7 เส้น
2. ดินสอ สีเทียน สีไม้

ขั้นตอนการจัดกิจกรรม
ขั้นนํา
1. ครูเตรียมความพร้อมของเด็กโดยใช้กิจกรรมเพลงผึ้งน้อยหารัง เพื่อให้เด็กได้แบ่งกลุ่ม
2. เมื่อเด็กได้กลุ่มแล้วครูแจกอุปกรณ์สําหรับการทํากิจกรรมต่อเติมเส้นให้เป็นเรื่อง
ขั้นสอน
1. ครูอธิบายกิจกรรมดังนี้
1.1 ให้เด็กต่อเติมเส้นลักษณะต่างๆจํานวน 7เส้น ที่ครูได้เขียนไว้บนกระดาษเป็นรูปต่างๆตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
2. เด็กลงมือปฏิบัติกิจกรรม
3. เมื่อเด็กๆลงมือปฏิบัติกิจกรรมเสร็จเรียบร้อยแล้วคุณครูให้เด็กๆเล่าสิ่งที่เด็กๆวาดว่าทําไมถึงต่อเส้นนี้เป็นภาพนี้แล้วเล่าเรื่องประกอบรูปภาพทีละกลุ่ม
ขั้นสรุป
1. เมื่อเด็กๆปฏิบัติกิจกรรมเรียบร้อยแล้ว คุณครูสรุปกิจกรรมโดยใช้คําถามเพื่อให้เด็กได้แสดงออกทางการพูดของเด็กๆว่า “เด็กๆคะเส้นนี้เด็กๆวาดเป็นรูปอะไรคะ”
“แล้วทําไม เด็กๆถึงวาดรูปนี้” “เด็กๆช่วยกันเล่าให้เป็นเรื่องราวดูสิคะ” และครูสรุปการทํากิจกรรมอีกครั้ง

การวัดและประเมินผล
สังเกตและบันทึกกิจกรรมการทํากิจกรรมของเด็ก โดยใช้แบบประเมินพัฒนาการด้านสติปัญญา
(ทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย)

ประโยชน์จากการจัดกิจกรรม
1. เด็กได้ฝึกฝนทักษะของการเขียนโดยการต่อภาพ พร้อมกับระบายสีของภาพที่ได้ต่อเติม
2. เด็กได้ฝึกการอ่านภาพที่ตนเองสร้างขึ้นพร้อมกับเล่าเรื่องราวตามจินตนาการ
3. เด็กได้ทักษะการทํางานร่วมกับผู้อื่น ฟังความคิดเห็นของสมาชิกในกลุ่ม และร่วมกันสร้างชิ้นงาน
4. เด็กทุกคนได้ฝึกความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการสนุกสนานในการทํากิจกรรม

เพลง ผึ้งหารัง

หึ่ง หึ่ง หึ่ง ผึ้งน้อยบินหารัง หึ่ง หึ่ง หึ่ง ผึ้งน้อยบินหารัง
ผึ้งน้อยจ๋า (จ๋า) ผึ้งน้อยจ๋า (จ๋า)
ผึ้งน้อยจ๋า เจ้าบินหาอะไร ผึ้งตอบเร็วไว ฉันบินหารัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น