กลุ่มที่ 1 พัฒนาการทางด้านร่างกาย
ความหมายพัฒนาการ
พัฒนาการ(Development) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงด้านการทำหน้าที่ (Function) และวุฒิภาวะ
(Maturation) ของอวัยวะระบบต่างๆ รวมทั้งตัวบุคคล
ให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำสิ่งที่ยากสลับ ซับซ้อนมากขึ้นตลอดจนการเพิ่มทักษะใหม่ๆและความสามารถในการปรับตัวต่อสภาวะแวดล้อมหรือภาวะใหม่ในบริบทของครอบครัวและสังคม
พัฒนาการด้านร่างกาย
(Physical
หรือ Psycho-motor development)
พัฒนาการด้านร่างกาย หมายถึง
ความสามารถของร่างกายในการทรงตัวในอิริยาบถต่างๆ และการเคลื่อนไหว เคลื่อนที่ไป
โดยการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ (Gross motor) และการใช้ตาและมือประสานกันในการทำกิจกรรมต่างๆ
(Fine motor adaptive)
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการและการเรียนรู้ทางร่างกายของเด็กปฐมวัย
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการและการเรียนรู้ทางร่างกายของเด็กปฐมวัยนั้นจะกล่าวถึงทักษะการใช้ร่างกาย
โดยพิจารณาทั้งด้านการเคลื่อนไหวเป็นหลัก ทั้งทั้ง 2
ทฤษฎีนี้มีมุมมองแตกต่างกันในแง่มุมของปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวโดยทฤษฎีวุฒิภาวะมีความเชื่อว่าวุฒิภาวะเป็นตัวกำหนดขั้นตอนของการเรียนรู้พัฒนาการทางร่างกาย แต่ทฤษฎีระบบพลวัตเชื่อว่าปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการมีหลายปัจจัยที่นำมาบูรณาการกันประการสำคัญคือแรงจูงใจที่ทำให้เกิดพัฒนาการ
ทักษะการเคลื่อนไหวใหม่ๆขึ้น
ทฤษฎีพัฒนาการของกีเซล
(Gesell)
อาร์โนลด์ กีเซล (Arnold
Gesell. 1880-1961) (อ้างถึงใน สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์, 2547 :
35) เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ผู้เริ่มก่อตั้งสถาบันพัฒนาการเด็ก (Institute
of Child Development) ณ มหาวิทยาลัยเยล ระหว่างปี ค.ศ. 1930-1940
อธิบายทฤษฎีเกี่ยวกับการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กว่าการเจริญเติบโตของเด็กทางร่างกาย
เนื้อเยื่อ อวัยวะ หน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ
และพฤติกรรมที่ปรากฏขึ้นเป็นรูปแบบที่แน่นอนและเกิดขึ้นเป็นลำดับขั้น ประสบการณ์
และสภาพแวดล้อมเป็นองค์ประกอบรองที่ต่อเติมเต็มเสริมพัฒนาการต่าง ๆ
กีเซลเชื่อว่าวุฒิภาวะจะถูกกำหนดโดยพันธุกรรม และมีในเด็กแต่ละคนมาตั้งแต่เกิด ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เด็กแต่ละวัยมีความพร้อมทำสิ่งต่าง
ๆ ได้ ถ้าวุฒิภาวะหรือความพร้อมยังไม่เกิดขึ้นตามปกติในวัยนั้น
สภาพแวดล้อมจะไม่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็ก
อาร์โนลด์ กีเซล (Arnold
Gesell) ได้สร้างเกณฑ์มาตรฐานสำหรับวัดพฤติกรรมของเด็กในแต่ละระดับ
เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยใช้วิธีการสังเกตพฤติกรรม
ซึ่งเขาได้แบ่งพัฒนาการของเด็กที่ต้องการวัดและประเมินออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่
1. พฤติกรรมทางการเคลื่อนไหว (Motor
Behavior) ครอบคลุมการบังคับอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายและความสัมพันธ์ทางด้านการเคลื่อนไหว
2. พฤติกรรมทางการปรับตัว (Adaptive
Behavior) ครอบคลุมความสัมพันธ์ของการใช้มือและสายตา การสำรวจ ค้นหา
การกระทำต่อวัตถุ การแก้ปัญหาในการทำงาน
3. พฤติกรรมทางการใช้ภาษา (Language
Behavior) ครอบคลุมการที่เด็กใช้ภาษา การฟัง การพูด การอ่าน
และการเขียน
4. พฤติกรรมส่วนตัวและสังคม (Personal-Social
Behavior) ครอบคลุมการฝึกปฏิบัติส่วนตัว เช่น การกินอาหาร
การขับถ่าย และการฝึกต่อสภาพสังคม เช่น กรเล่น การตอบสนองผู้อื่น
จากแนวความคิดของ อาร์โนลด์ กีเซล (Arnold
Gesell) สามารถนำมาอธิบายพัฒนาการของมนุษย์ในด้านการเจริญเติบโตพัฒนาการทางร่างกาย
และสามารถนำไปเชื่อมโยงกับพัฒนาการทางสติปัญญาได้อีกด้วย นอกจากนั้น อาร์โนลด์
กีเซล (Arnold Gesell) ได้เขียนหนังสือขึ้น 2 เล่ม คือ The
First Five Year of Life และ The Child from Five to Ten ซึ่งแนวคิดดังกล่าวนี้มีบทบาทมากต่อการจัดกลุ่มเด็กเข้าศึกษาในชั้นอนุบาลศึกษาและชั้นประถมศึกษา
เกณฑ์มาตรฐานใช้เป็นแบบทดสอบมาตรฐานในการทำนายพฤติกรรม วิเคราะห์กลุ่ม และทำวิจัย
เพื่อบอกลักษณะพัฒนาการของเด็ก โดยใช้อายุทางปฏิทินเป็นเกณฑ์
นอกจากนี้มีบทบาทมากในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับเด็ก
โดยการจัดกิจกรรมนั้นต้องให้เหมาะสมกับวุฒิภาวะของเด็กแต่ละคน
กิจกรรมที่ 1
ร้อยรักการสาน
จุดประสงค์
1. เพื่อพัฒนาความสามารถในการควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมัดเล็กให้ประสานสัมพันธ์กันระหว่างมือกับตาได้
2. เพื่อปฏิบัติตามคำสั่งของครูได้
3. เพื่อฝึกทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
4. เพื่อฝึกสมาธิให้จดจ่อกับสิ่งที่กำลังทำอยู่
วัสดุอุปกรณ์
1. ใบมะพร้าว
2. กรรไกร
3. กระดาษโปสเตอร์สี
4. สก็อตเทปใส
กิจกรรมสำหรับเด็กอายุ
2 – 3 ปี
ขั้นนำ
1.ครูและเด็กร่วมกันสนทนา อธิบายวิธีขั้นตอนในการทำกิจกรรม
2.ครูจัดเตรียมอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมให้เรียบร้อย
ขั้นกิจกรรม
3.ตัดกระดาษสีเป็นเส้น
หนาประมาณ 1 นิ้ว ตัดทิ้งไว้ประมาณ 10 เส้น ตัดทิ้งไว้ทั้ง 2 สี
4.จากนั้นเรียงสีใดสีหนึ่ง
ในแนวตั้ง ยึดไว้ด้วย สก็อตเทปใส
5.นำกระดาษอีกสีมาสาน
เป็นตาราง โดยสลับกันไป-มา
6.ทำจนหมดเส้นที่ตัดไว้
หรือ ตามความยาวของกระดาษ
7.เมื่อเสร็จ
ลอกสก็อตเทปใสออก
ขั้นสรุป
8..เมื่อเด็กทำกิจกรรมเสร็จแล้ว
เด็กและครูร่วมกันสรุปกิจกรรมกับเพื่อนๆ ว่านอกจากใบมะพร้าวแล้ว
ยังมีวัสดุธรรมชาติอื่นๆอีกไหม ที่สามารถนำมาร้อยได้
9.ครูและเด็กช่วยกันเก็บวัสดุอุปกรณ์และทำความสะอาดบริเวณของตนเอง
กิจกรรมเหมาะสำหรับเด็กอายุ 4 – 6 ปี
ขั้นนำ
1.ครูและเด็กร่วมกันสนทนา
อธิบายวิธีขั้นตอนในการทำกิจกรรม
2.ครูจัดเตรียมอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมให้เรียบร้อย
ขั้นกิจกรรม
3. นำใบมะพร้าวสดมาฉีกเป็นเส้นยาว 50 เซนติเมตร กว้าง 2 เซนติเมตร จำนวน 4
เส้น นำใบมะพร้าวมาวางทับกัน
พับปลายเส้นด้านซ้ายพับขึ้นบนแล้วพับปลาย
อีกข้างพับขึ้นบนทับเส้นด้านซ้าย
5. พับด้านบนลงมา แล้วนำปลายด้านล่างขึ้นมาสอดที่ช่องใต้รอยพับแล้วดึงให้แน่น
6. สานเหมือนกับ (ข้อ 1 – ข้อ 3) 2 ชุด
นำมาสานขัดกันเหมือนหางเปียไม่พับริม
4 – 5 รอบ
7. จัดรูปตะกร้อ
ส่วนที่สานแล้วให้เข้าที่
นำปลายสอดตามปลายที่สาน สอดเรื่อยๆ ไปจนพอเหมาะ
ตัดส่วนที่เหลือทิ้งด้วยกรรไกร
จะได้ตะกร้อ ตกแต่งให้เรียบร้อยสวยงาม
ขั้นสรุป
10.เมื่อเด็กทำกิจกรรมเสร็จแล้ว
เด็กและครูร่วมกันสรุปกิจกรรมกับเพื่อนๆ ว่านอกจากใบมะพร้าวแล้ว
ยังมีวัสดุธรรมชาติอื่นๆอีกไหม ที่สามารถนำมาร้อยได้
11.ครูและเด็กช่วยกันเก็บวัสดุอุปกรณ์และทำความสะอาดบริเวณของตนเอง
การประเมินผล
1. สังเกตการควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมัดเล็ก
2. สังเกตการตามคำสั่งของครูได้
3. สังเกตการทำงานร่วมกับผู้อื่น
4.สังเกตการมีสมาธิให้จดจ่อกับสิ่งที่กำลังทำอยู่
ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำกิจกรรม
1.เด็กเกิดพัฒนาการด้านร่างกายกล้ามเนื้อมัดเล็ก
มือประสานกันกับตา
2.เด็กเกิดจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
การออกแบบการร้อยตะกร้อใบตาลของตัวเอง
3.เด็กได้ฝึกสมาธิของตัวเองในการเรียนรู้สิ่งต่างๆให้นาน
และใช้ผลในการเรียนรู้ที่ดีขึ้นได้
4.เด็กได้เรียนรู้สิ่งประดิษฐ์ที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ
5.เด็กได้เรียนรู้การทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
กิจกรรมที่ 2
พิมพ์ภาพบนถุงผ้า
จุดประสงค์
1.เพื่อพัฒนาความสามารถในการควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมัดเล็กให้ประสานสัมพันธ์กันระหว่างมือกับตาได้
2.เพื่อปฏิบัติตามคำสั่งของครูได้
3.เพื่อฝึกทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
4.เพื่อฝึกสมาธิให้จดจ่อกับสิ่งที่กำลังทำอยู่
วัสดุอุปกรณ์
1.ผ้าขาวบางขนาด 12X10 นิ้ว
2.กาวติดผ้า
3.กรรไกร
4.ไม้ไผ่ผ่าเป็นท่อน
5.ดอกไม้หลากหลายสี
6.ใบไม้หลากหลายลักษณะ
กิจกรรมสำหรับเด็กอายุ
ขั้นนำ
1.ครูจัดเตรียมอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมให้พร้อม
2.ครูและนำวัสดุอุปกรณ์
3.ครูและนักเรียนร่วมกันสร้างข้อตกลง
-การใช้อุปกรณ์อย่างระมัดระวัง
ความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น
-ไม่หยอกล้อกันระหว่างทำกิจกรรม
-รู้จักการแบ่งปัน การรอคอย ขั้นกิจกรรม
4. ครูให้นักเรียนหยิบผ้าขาวบางคนละ 2
ชิ้นเพื่อจะทำถุงกระเป๋า โดยเด็กอายุ 2 – 3 ปี ครูอาจให้จับคู่กัน
5. บีบกาวติดบริเวรชายผ้าทั้ง 3
ด้านและทิ้งไว้ 5 นาทีรอกาวแห้ง แล้วพลิกด้านของถุงกระเป๋าโดยมีครูคอยช่วยเหลือใกล้ๆ
4. ครูให้เด็กนำดอกไม้ใบไม้มาวางบนกระเป๋าผ้าโดยออกแบบตามจินตนาการความคิดสร้างสรรค์
โดยเด็กอายุ 2 –
3 ปี ใช้นิ้วกด ขยี้ทับดอกไม้หรือใบไม้ในเด็กอายุ 4 – 6 ปี ใช้เทปใสติดทับบริเวณที่มีดอกไม้ใบไม้วางอยู่บนกระเป๋าผ้า
6.ใช้ไม้หรือค้อนทุบไปยังบริเวณดอกไม้ใบไม้ให้สีจากใบไม้ติดบนกระเป๋าผ้าเมื่อมั่นใจว่าสีติดแล้วให้แกะเทปใสออก
ขั้นสรุป
7.เด็กและครูร่วมกันสรุปกิจกรรมกับเพื่อนๆ
ว่าทำเป็นรูปอะไรบ้าง และทุกคนต้องทำกิจกรรมอย่างระมัดระวังต้องรู้จักแบ่งปันกัน
ทำตามกฎ กติกา
8.ครูให้เด็กช่วยกันทำความสะอาดบริเวณทำกิจกรรมของตนเอง
การประเมินผล
1. สังเกตการควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมัดเล็ก
2. สังเกตการตามคำสั่งของครูได้
3. สังเกตการทำงานร่วมกับผู้อื่น
4.สังเกตการมีสมาธิให้จดจ่อกับสิ่งที่กำลังทำอยู่
1.เกิดพัฒนาการด้านร่างกายกล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่
2.เกิดการประสานกันระหว่างมือกับตา
3.เด็กรู้จักสีตามธรรมชาติ
4.เกิดความคิดสร้างสรรค์
5.เกิดทักษะการทำกิจกรรมร่วมกันกับผู้อื่น
6.เด็กรู้จักความรับผิดชอบเมื่อทำกิจกรรมเสร็จต้องช่วยกันทำความสะอาด
กิจกรรมที่ 3
จุดประสงค์
1.เพื่อพัฒนาความสามารถในการควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมัดเล็กให้ประสานสัมพันธ์กันระหว่างมือกับตาได้
2.เพื่อปฏิบัติตามคำสั่งของครูได้
3.เพื่อฝึกทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
4.เพื่อฝึกสมาธิให้จดจ่อกับสิ่งที่กำลังทำอยู่
5.เพื่อสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ด้วยความคิดของตนเอง
วัสดุอุปกรณ์
1. กระดาษ a4
2. กาละมังใส่น้ำล้างมือ
3. ผ้าเช็ดมือ
4. พู่กัน
5. สีจากธรรมชาติ
-สีเหลือง จากขมิ้น
-สีดำ จากถ่าน
-สีเขียว จากใบเตย
-สีแดง จากแก้วมังกร
-สีน้ำเงิน จากอัญชัญ
6. จานใส่สี
กิจกรรมสำหรับเด็กอายุ 2 – 3 ปี
ขั้นนำ
การประเมินผล
ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำกิจกรรม
1.ครูจัดเตรียมอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมให้พร้อม
2.ครูให้เด็กนั่งเป็นวงกลม
3.ครูและเด็กร่วมกันสร้างข้อตกลง
- ไม่หยอกล้อกันระหว่างทำกิจกรรม
ไม่นำดินสอเข้าปากและนำสีไปทาผู้อื่น
- รู้จักการอดทน การรอคอย ไม่แย่งกัน
ขั้นกิจกรรม
4.ครูแนะวัสดุอุปกรณ์พร้อมแนะนำกิจกรรม
5.ครูให้เด็กทำกิจกรรมวาดภาพละเลงสีด้วยนิ้วมือ
ขั้นสรุป
6.เมื่อเด็กทำกิจกรรมเสร็จแล้วครูให้เด็กล้างมือ
7.เด็กและครูร่วมกันสรุปกิจกรรมกับเพื่อนๆ ว่าทำเป็นรูปอะไรบ้าง และทุกคนต้องทำกิจกรรมอย่างระมัดระวังต้องรู้จักแบ่งปันกัน
ทำตามกฎ กติกา
8.ครูให้เด็กช่วยกันทำความสะอาดบริเวณทำกิจกรรมของตนเอง
กิจกรรมอายุ 3 - 6 ปี
ขั้นนำ
1.ครูจัดเตรียมอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมให้พร้อม
2.ครูให้เด็กนั่งเป็นวงกลม
3.ครูและเด็กร่วมกันสร้างข้อตกลง
- ไม่หยอกล้อกันระหว่างทำกิจกรรม ไม่นำดินสอเข้าปากและนำสีไปทาผู้อื่น
- รู้จักการอดทน การรอคอย ไม่แย่งกัน
ขั้นกิจกรรม
4.ครูแนะวัสดุอุปกรณ์พร้อมแนะนำกิจกรรม
ดังนี้
4.1 วาดภาพจากขมิ้น
4.2
วาดภาพจากดอกอัญชัน
4.3 วาดภาพจากถ่าน
4.4 วาดภาพจากพู่กัน
5.ครูให้เด็กเลือกทำกิจกรรมตามใจชอบ
ขั้นสรุป
6.เมื่อเด็กทำกิจกรรมเสร็จแล้วครูให้เด็กล้างมือ
7.เด็กและครูร่วมกันสรุปกิจกรรมกับเพื่อนๆ ว่าทำเป็นรูปอะไรบ้าง และทุกคนต้องทำกิจกรรมอย่างระมัดระวังต้องรู้จักแบ่งปันกัน
ทำตามกฎ กติกา
8.ครูให้เด็กช่วยกันทำความสะอาดบริเวณทำกิจกรรมของตนเอง
1. สังเกตการควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมัดเล็ก
2. สังเกตการตามคำสั่งของครูได้
3. สังเกตการทำงานร่วมกับผู้อื่น
4.สังเกตการมีสมาธิให้จดจ่อกับสิ่งที่กำลังทำอยู่
5. สังเกตผลงานของเด็กประโยชน์ที่ได้รับจากการทำกิจกรรม
1.เด็กเกิดพัฒนาการด้านร่างกายกล้ามเนื้อมัดเล็กมือประสานกันกับตา
2.เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์
3.เด็กเกิดทักษะการทำกิจกรรมร่วมกันกับผู้อื่น
4.เด็กรู้จักความรับผิดชอบเมื่อทำกิจกรรมเสร็จต้องช่วยกันทำความสะอาด
5.เด็กมีสุขภาพอนามัยที่ดีหลังจากทำกิจกรรมเสร็จทุกครั้งต้องล้างมือ
กิจกรรมที่ 4
จุดประสงค์
1.เพื่อส่งเสริมทักษะการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ของเด็กปฐมวัย
2.เพื่อส่งเสริมทักษะการกระโดดของเด็กปฐมวัย
3.เพื่อฝึกการทรงตัวและหยุดอยู่กับที่ได้
4.เพื่อฝึกทักษะการรอคอยและปฏิบัติตามคำสั่งของครูได้
กิจกรรมสำหรับเด็กอายุ 2 – 6 ปี
ขั้นนำ
กิจกรรมเหมาะสำหรับเด็กอายุ 3 – 6 ปี
ขั้นกิจกรรม
การประเมินผล
ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำกิจกรรม
1.ครูจัดเตรียมอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมให้พร้อม
2.ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม
กลุ่มละเท่าๆกัน และร่วมกันสร้างข้อตกลง
-การกระโดดอย่างระมัดระวัง
ความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น
-ไม่วิ่งขณะ
ทำกิจกรรม
ขั้นกิจกรรม
1.ครูแนะนำกิจกรรม
พร้อมทั้งสาธิตให้เด็กๆ
ดูวิธีเล่น เริ่มจากการกระโดดสองขาพร้อมๆกันจากร้อยเท้าหนึ่งไปอีกร้อยเท้าหนึ่งจนถึงจุดสุดท้าย
2.ครูให้เด็กทำกิจกรรม (จบกิจกรรมสำหรับเด็กอายุ
2 – 3 ปี ครูให้เด็กนั่งพัก)
กิจกรรมเหมาะสำหรับเด็กอายุ 3 – 6 ปี
ขั้นกิจกรรม
1. ครูให้เด็กเข้าแถวตามลำดับก่อน-หลัง
2. ครูให้เด็กเดินตามเส้นซิกแซกโดยนำลูกโป่งมาไว้ตรงกลางระหว่างขา
2 ข้าง แล้วให้เด็กพาลูกโป่งไปให้ถึงเส้นชัยโดยที่ลูกโป่งไม่ตกลงพื้น
ขั้นสรุป
1.ครูให้เด็กนั่งพัก
2.เด็กและครูร่วมกันสรุปถึงการเล่นหรือการร่วมกิจกรรมกับเพื่อนๆ
ทุกคนต้องเล่นด้วยความระมัดระวังต้องทำตามกฎ
กติกา
3.ครูให้เด็กช่วยกันเก็บอุปกรณ์เข้าที่
การประเมินผล
1. สังเกตการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กปฐมวัย
2. สังเกตจากการรอคอย
3. สังเกตการปฏิบัติตามคำสั่งของคุณครู
4. สังเกตการทำกิจกรรม
และการมีส่วนร่วมกับผู้อื่น
1. เด็กเกิดพัฒนาการด้านร่างกายกล้ามเนื้อมัดใหญ่
มือประสานกันกับตา
2. เด็กเกิดการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างคล่องแคล่ว
ว่องไว การเดินทรงตัว
3. เด็กเกิดทักษะการเล่นร่วมกันกับผู้อื่น
4. เด็กรู้จักความรับผิดชอบเมื่อเล่นเสร็จแล้วต้องรู้จักเก็บอุปกรณ์
กิจกรรมที่ 5
จุดประสงค์
1.เพื่อส่งเสริมพัฒนาการประสานสัมพันธ์ระหว่างตากับมือ
2.เพื่อฝึกการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างคล่องแคล่ว
ว่องไว
3.เพื่อส่งเสริมทักษะการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ของเด็กปฐมวัย
4.เพื่อส่งเสริมการเดินทรงตัวบนกะลา
กิจกรรมสำหรับเด็กอายุ 2 – 3 ปี
ขั้นนำ
กิจกรรมเหมาะสำหรับเด็กอายุ 4 – 6 ปี
ขั้นนำ
การประเมินผล
ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำกิจกรรม
1. ครูจัดเตรียมอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมให้พร้อม
2. ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละเท่าๆกัน และร่วมกันสร้างข้อตกลง
- การใช้อุปกรณ์อย่างระมัดระวัง
ความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น
- รู้จักการอดทน การรอคอย ไม่แย่งกันเล่น
- เดินอย่างระมัดระวังไม่วิ่ง
ขั้นกิจกรรม
3. ครูแนะนำกิจกรรม
พร้อมทั้งสาธิตให้นักเด็กๆดูวิธีเล่น
เริ่มจากขึ้นไปยืนบนกะลาโดยใช้นิ้วหัวแม่เท้าและนิ้วชี้หนีบเส้นเชือกเอาไว้ใช้มือดึงตรงกลางเชือกเอาไว้ และเริ่มเดินได้
4.ครูให้เด็กทำกิจกรรมโดยเริ่มจากเด็กคนที่
1 จนเด็กได้ทำกิจกรรมทุกคน
ขั้นสรุป
5.ครูให้เด็กนั่งพัก
6.เด็กและครูร่วมกันสรุปถึงการเล่นหรือการร่วมกิจกรรมกับเพื่อนๆ
ทุกคนต้องเล่นด้วยความระมัดระวังต้องรู้จักแบ่งปันกัน ต้องรู้จักอดทน รอคอย
รู้จักสามัคคีกันและเล่นตามกฎ กติกา
จึงจะเล่นได้ด้วยความสุขสนุกสนาน
7.ครูให้เด็กช่วยกันเก็บอุปกรณ์เข้าที่
1.ครูจัดเตรียมอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมให้พร้อม
2.ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละเท่าๆกัน และร่วมกันสร้างข้อตกลง
-การใช้อุปกรณ์อย่างระมัดระวัง ความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น
-รู้จักการอดทน การรอคอย ไม่แย่งกันเล่น
-เดินอย่างระมัดระวังไม่วิ่ง
ขั้นกิจกรรม
3.ครูแนะนำกิจกรรม พร้อมทั้งสาธิตให้นักเด็กๆดูวิธีเล่น เริ่มจากขึ้นไปยืนบนกะลาโดยใช้นิ้วหัวแม่เท้าและนิ้วชี้หนีบเส้นเชือกเอาไว้ใช้มือดึงตรงกลางเชือกเอาไว้ และเริ่มเดินได้
4.ครูให้เด็กทำกิจกรรมโดยให้เด็กแต่ละทีม เดินซิกแซกตามกรวยที่กำหนดให้ และเล่นทีละคนจนครบทุกคน
ขั้นสรุป
5.ครูให้เด็กนั่งพัก
6.เด็กและครูร่วมกันสรุปถึงการเล่นหรือการร่วมกิจกรรมกับเพื่อนๆ
ทุกคนต้องเล่นด้วยความระมัดระวังต้องรู้จักแบ่งปันกัน ต้องรู้จักอดทน รอคอย
รู้จักสามัคคีกันและเล่นตามกฎ กติกา
จึงจะเล่นได้ด้วยความสุขสนุกสนาน
7.ครูให้เด็กช่วยกันเก็บอุปกรณ์เข้าที่
1.สังเกตการเดินทรงตัวบนกะลาโดยไม่ล้ม
2.สังเกตจากการรอคอย
3.สังเกตการปฏิบัติตามคำสั่งของคุณครู
2.สังเกตการมีส่วนร่วมกับผู้อื่น
1.เด็กเกิดพัฒนาการด้านร่างกายกล้ามเนื้อมัดใหญ่
มือประสานกันกับตา
2.เด็กเกิดการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างคล่องแคล่ว
ว่องไว การเดินทรงตัว
3.เด็กเกิดทักษะการเล่นร่วมกันกับผู้อื่น
4.เด็กรู้จักความรับผิดชอบเมื่อเล่นเสร็จแล้วต้องรู้จักเก็บอุปกรณ์
สรุปผล
กลุ่มที่ 1
พัฒนาการและการเรียนรู้ทางด้านร่างกาย
กิจกรรมที่ 1 ร้อยรักการสาน
สิ่งที่ปรับปรุง
1.ใช้คำใหม่
2.ประเมินให้ตรงกับจุดประสงค์ที่ตั้งไว้
3.ปรับกิจกรรมให้เหมาะสมในเด็กทั้ง
2 ช่วงอายุ คือ 2 – 3 ปี และ 4 – 6 ปีดังนี้
ภาพการทำกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2
พิมพ์ภาพบนถุงผ้า
ภาพการทำกิจกรรม
สิ่งที่ปรับปรุง
1.ใช้คำใหม่
2.ประเมินให้ตรงกับจุดประสงค์ที่ตั้งไว้
3.ปรับวิธีการ
วัสดุอุปกรณ์โดยให้เด็กเป็นผู้ลงมือปฏิบัติให้ได้มากที่สุด
ภาพการทำกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3
ละเลงสีจากธรรมชาติ
สิ่งที่ปรับปรุง
1.ใช้คำใหม่
2.ประเมินให้ตรงกับจุดประสงค์ที่ตั้งไว้
3.เพิ่มอุปกรณ์
และปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับเด็กอายุ 4 – 6 ปี
ภาพการทำกิจกรรม
กิจกรรมที่ 4
กระโดดตามรอยเท้า ก้าวขาพาลูกโป่งเดิน
สิ่งที่ปรับปรุง
1.ใช้คำใหม่
2.ประเมินให้ตรงกับจุดประสงค์ที่ตั้งไว้
3.ปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับเด็กอายุ
4 – 6 ปี
ภาพการทำกิจกรรม
กิจกรรมที่ 5
กะลาพาเพลิน
ภาพการทำกิจกรรม
สิ่งที่ปรับปรุง
1.ใช้คำใหม่
2.ประเมินให้ตรงกับจุดประสงค์ที่ตั้งไว้
3.ปรับกิจกรรมให้เหมาะสมแต่ละช่วงอายุโดยเด็กอายุ
2 – 3 ปี จะเน้นที่การฝึกทักษะการทรงตัว เด็กอายุ 4 – 6 ปี
จะเน้นการทรงตัวโดยไม่ล้มและการเดินซิกแซกปี
ภาพการทำกิจกรรม
ภาคผนวก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น