วันอังคารที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ด้านความคิดสร้างสรรค์


กลุ่มที่ 6
พัฒนาการและการเรียนรู้
ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย


ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย
 องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์นี้ได้รับอิทธิพลมาจากทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด ซึ่งเชื่อว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถทางสมองที่คิดได้อย่างซับซ้อน กว้างไกล หลายทิศทาง หรือที่เรียกว่า คิดอเนกนัย ซึ่งประกอบด้วย ความคิดริเริ่ม ความคิดคล่องแคล่ว ความคิดยืดหยุ่น ความคิดละเอียดลออ


กิลฟอร์ด  ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ไว้ดังนี้
         1. ความคิดริเริ่ม (Originality) หมายถึง ความคิดแปลกใหม่ไม่ซ้ำกันกับความคิดของคนอื่น และแตกต่างจากความคิดธรรมดา ความคิดริเริ่มอาจเกิดจากการคิดจากเดิมที่มีอยู่แล้วให้แปลกแตกต่างจากที่เคยเห็น หรือสามารถพลิกแพลงให้กลายเป็นสิ่งที่ไม่เคยคาดคิด ความคิดริเริ่มอาจเป็นการนำเอาความคิดเก่ามาปรุงแต่งผสมผสานจนเกิดเป็นของใหม่ ความคิดริเริ่มมีหลายระดับซึ่งอาจเป็นความคิดครั้งแรกที่เกิดขึ้นโดยไม่มีใครสอนแม้ความคิดนั้นจะมีผู้อื่นคิดไว้ก่อนแล้วก็ตาม
          2. ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency) หมายถึง ปริมาณความคิดที่ไม่ซ้ำกันในเรื่องเดียวกัน โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
  • ความคล่องแคล่วทางด้านถ้อยคำ (Word Fluency) เป็นความสามารถในการใช้ถ้อยคำอย่างคล่องแคล่ว
  • ความคิดคล่องแคล่วทางด้านการโยงสัมพันธ์ (Associational Fluency) เป็นความสามารถที่จะคิดหาถ้อยคำที่เหมือนกันได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ภายในเวลาที่กำหนด
  • ความคล่องแคล่วทางด้านการแสดงออก (Expression Fluency) เป็นความสามารถในการใช้วลีหรือประโยค กล่าวคือ สามารถที่จะนำคำมาเรียงกันอย่างรวดเร็วเพื่อให้ได้ประโยคที่ต้องการ
  • ความคล่องแคล่วในการคิด (Ideational Fluency) เป็นความสามารถที่จะคิดค้นสิ่งที่ต้องการภายในเวลาที่กำหนด เช่น ใช้คิดหาประโยชน์ของก้อนอิฐให้ได้มากที่สุดภายในเวลาที่กำหนดซึ่งอาจเป็น 5 นาที หรือ 10 นที

          3. ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) หมายถึง ประเภทหรือแบบของการคิดแบ่งออกเป็น
  • ความคิดยืดหยุ่นที่เกิดขึ้นทันที (Spontaneous Flexibility) เป็นความสามารถที่จะพยายามคิดได้หลายทางอย่างอิสระ ตัวอย่างของคนที่มีความคิดยืดหยุ่นในด้านนี้จะคิดได้ว่าประโยชน์ของหนังสือพิมพ์มีอะไรบ้าง ความคิดของผู้ที่ยืดหยุ่นสามารถจัดกลุ่มได้หลายทิศทางหรือหลายด้าน เช่น เพื่อรู้ข่าวสาร เพื่อโฆษณาสินค้า เพื่อธุรกิจ ฯลฯ ในขณะที่คนที่ไม่มีความคิดสร้างสรรค์จะคิดได้เพียงทิศทางเดียว คือ เพื่อรู้ข่าวสาร เท่านั้น
  •  ความคิดยืดหยุ่นทางด้านการดัดแปลง (Adaptive Flexibility) หมายถึง ความสามารถในการดัดแปลงความรู้ หรือประสบการณให้เกิดประโยชน์หลายๆ ด้าน ซึ่งมีประโยชน์ต่อการแก้ปัญหา ผู้ที่มีความยืดหยุ่นจะคิดดัดแปลงได้ไม่ซ้ำกัน

       4. ความคิดละเอียดละออ (Elaboration) หมายถึง ความคิดในรายละเอียดเป็นขั้นตอน สามารถอธิบายให้เห็นภาพชัดเจน หรือเป็นแผนงานที่สมบูรณ์ขึ้น ความคิดละเอียดละออจัดเป็นรายละเอียดที่นำมาตกแต่ง ขยายความคิดครั้งแรกให้สมบูรณ์ขึ้น


แอนเดอร์สัน (Anderson. 1957) กล่าวว่า ความแตกต่างของบุคคลอยู่ที่ความคิด สร้างสรรค์และ  ประสบการณ์เป็นสำคัญ พร้อมทั้งได้แบ่งกระบวนการด้านความคิดสร้างสรรค์ ออกเป็น 6 ขั้น คือ 
ขั้นที่ สนใจและรู้ถึงความต้องการของจิตใจและสมอง
ขั้นที่ 2 รวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์และสิ่งที่น่าสนใจ
ขั้นที่ 3 ไตร่ตรองถึงการวางแผน โครงร่างและรูปแบบของงาน
ขั้นที่ 4 จากผลข้อ 1 - 3 ทำให้เกิดจินตนาการ
ขั้นที่ 5 สร้างจินตนาการออกมาให้เป็นความจริง และแสดงผลให้เห็นได้ชัด
ขั้นที่ 6 รวบรวมความคิด และแสดงออกมาในรูปของผลงาน

ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ได้กล่าวถึงความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยไว้ดังนี้
          ความคิดสร้างสรรค์เกิดจากการประสานความสามารถตามธรรมชาติของมนุษย์ในสองส่วน ประกอบที่สำคัญ คือ “ความสามารถในการคิด” และ “ความสามารถในการสร้างสรรค์” ซึ่ง อาจจะมีอยู่ในบุคคลเดียวกัน หรือบางคนอาจมีเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งก็เป็นได้ความสามารถในการคิด เป็นผลผลิตจากกระบวนการทำงานของสมองของมนุษย์ที่คิดอยู่เกือบตลอดเวลา ลักษณะการ คิดแบ่งเป็นการคิดแบบไม่มีจุดมุ่งหมาย (undirected cognition) เป็นการคิดแบบอิสระ ปะติด ปะต่อกันโดยปราศจากการจัดระเบียบ เปลี่ยนไปตามความสนใจหรือเหตุการณ์ที่ผ่านเข้ามาขณะนั้น และไม่มีการตั้งวัตถุประสงค์ ส่วนการคิดแบบมีจุดมุ่งหมาย (directed cognition) เป็นการคิดแบบ มีทิศทาง มีการจัดระบบระเบียบและวัตถุประสงค์เฉพาะ โดยอาศัยกระบวนการทำงานของสมอง อย่างเป็นขั้นตอน ตั้งแต่การรับรู้ การตีความ ความจำ สมมติฐาน จนกระถึงการสรุปผล สำหรับ ความสามารถในการสร้างสรรค์ หมายถึง การสร้างการกระทำให้เกิดขึ้น เป็นได้ทั้งกระบวนการ วิธีการรวมไปถึงลักษณะทางผลิตผลหรือชิ้นงาน

           แนวทางการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
การจัดกิจกรรมควรคำนึงถึงตัวเด็กเป็นสำคัญเพราะเด็กแต่ละคนมีความสนใจที่แตกต่างกันดังนั้น คุณครูควรมีการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย ตรงกับความสนใจและความสามารถของเด็ก จะจัดเป็นแบบกลุ่มใหญ่หรือเป็นรายบุคคลก็ได้ค่ะและควรมีการจัดกิจกรรมทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนเพื่อเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศและให้เด็กเกิดความผ่อนคลายได้คิดและใช้จินตนาการได้อย่างเต็มที่ส่วนระยะเวลาในการจัดกิจกรรมแนะนำให้จัดตามความเหมาะสมกับวัยและสามารถยืดหยุ่นได้ตามความสนใจของเด็ก 

       กิจกรรมรูปเรขาคณิตมหาสนุก



ช่วงอายุ 4-5 ปี


จุดประสงค์
1.เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะในด้านการคิดสร้างสรรค์
2.เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้รู้จักใช้จินตนาการจับคู่เปรียบเทียบและเชื่อมโยงสิ่งต่างๆที่มีลักษณะเหมือนกับรูปเรขาคณิต  
สาระที่ควรเรียนรู้
          1.การใช้อุปกรณ์อย่างถูกวิธี
          2.รูปเรขาคณิต
อุปกรณ์
          1.ตัวอย่างรูปเรขาคณิต
          2.บัตรภาพรูปเรขาคณิต
          3. บัตรภาพสิ่งต่างๆที่มีลักษณะเป็นรูปเรขาคณิต
ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
          ขั้นนำ
1.ครูนำรูปภาพเรขาคณิตมาให้เด็กๆดู อธิบายและยกตัวอย่างสิ่งต่างๆที่มีลักษณะคล้ายกับรูปเรขา คณิตแบบต่างๆ
2.ครูและเด็กร่วมกันสร้างข้อตกลงก่อนทำกิจกรรม   
2.1 การใช้อุปกรณ์อย่างระมัดระวัง รักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น                        
2.2 การเก็บของเข้าที่
ขั้นสอน
3. ครูอธิบายวิธีการทำกิจกรรมดังนี้
3.1 ให้เด็กๆหยิบบัตรภาพรูปเรขาคณิตทีละภาพ
3.2 จากนั้นให้เด็กจับคู่กับบัตรภาพสิ่งของต่างๆที่มีมีลักษณะเหมือนกับรูปเรขาคณิตนั้น
ขั้นสรุป
4.ครูและเด็กร่วมกันสรุปเกี่ยวกับกิจกรรมรูปเรขาคณิตมหาสนุก
                   4.1 รูปเรขาคณิตมีรูปอะไรบ้าง
                   4.2 ยกตัวอย่างลักษณะสิ่งต่างๆรอบตัวที่มีลักษณะเหมือนรูปเรขาคณิต
ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำกิจกรรม
1.เด็กได้รู้จักใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
2.เด็กได้พัฒนาทักษะในด้านการคิดสร้างสรรค์
          3.เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับรูปเรขาคณิต
การประเมินผล
          1.เด็กบอกรูปเรขาคณิตต่างๆได้
            2.เด็กสามารถบอกและจับคู่เปรียบเทียบสิ่งต่างๆรอบตัวที่มีลักษณะเหมือนกับรูปเรขาคณิตได้

 ช่วงอายุ 5-6 ปี



จุดประสงค์
1.เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะในด้านการคิดสร้างสรรค์
2.เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้รู้จักใช้จินตนาการในการเปรียบเทียบและเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ
ที่มีลักษณะเหมือนกับรูปเรขาคณิต
สาระที่ควรเรียนรู้
          1.การใช้อุปกรณ์อย่างถูกวิธี
          2.รูปเรขาคณิต
อุปกรณ์
          1.ตัวอย่างรูปเรขาคณิต
          2.แผ่นภาพรูปเรขาคณิตที่ติดกับพื้น
          3.บัตรภาพรูปเรขาคณิต
ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
          ขั้นนำ
1.ครูนำรูปภาพเรขาคณิตมาให้เด็กๆดู อธิบายและยกตัวอย่างสิ่งต่างๆที่มีลักษณะคล้าย
กับรูปเรขาคณิตแบบต่างๆ
2.ครูและเด็กร่วมกันสร้างข้อตกลงก่อนทำกิจกรรม   
2.1 การใช้อุปกรณ์อย่างระมัดระวัง รักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น                        
2.2 การเก็บของเข้าที

ขั้นสอน
3. ครูอธิบายวิธีการทำกิจกรรมดังนี้
3.1 ให้เด็กๆกระโดดไปที่ตามจุดต่างๆที่มีรูปภาพเรขาคณิตติดอยู่
3.2 จากนั้นให้เด็กบอกว่ารูปเรขาคณิตนั้นคือรูปอะไร และให้เปรียบเทียบและยกตัวอย่างสิ่งต่างๆ
ที่มีลักษณะเหมือนกับรูปเรขาคณิตนั้น
ขั้นสรุป
4.ครูและเด็กร่วมกันสรุปเกี่ยวกับกิจกรรมรูปเรขาคณิตมหาสนุก
          4.1 รูปเรขาคณิตมีรูปอะไรบ้าง
          4.2 ยกตัวอย่างลักษณะสิ่งต่างๆรอบตัวที่มีลักษณะเหมือนรูปเรขาคณิต
ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำกิจกรรม
1.เด็กได้รู้จักใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
2.เด็กได้พัฒนาทักษะในด้านการคิดสร้างสรรค์
3.เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับรูปเรขาคณิต
การประเมินผล
          1.เด็กสามารถบอกและอธิบายลักษณะรูปเรขาคณิตแบบต่างๆได้
           2.เด็กสามารถบอกและเปรียบเทียบสิ่งต่างๆรอบตัวที่มีลักษณะเหมือนกับรูปเรขาคณิตได้
ปัญหาและอุปสรรค์ในการจัดกิจกรรม
1.ใช้เวลาในการทำกิจกรรมมากไป เด็กอาจเริ่มสนใจในการทำกิจกรรมน้อยลง
สิ่งที่ควรปรับปรุงในการจัดกิจกรรม
1.ให้เด็กได้มีอิสระในการทำกิจกรรมด้วยตนเองเพิ่มขึ้น
2.ให้เด็กได้สร้างสรรค์ผลงานจากสิ่งที่เรียนรู้
3.เพิ่มบัตรภาพสิ่งต่างๆที่มีลักษณะเหมือนรูปเรขาคณิตให้มีความหลากหลาย
สรุปผลการประเมินพัฒนาการจากการจัดกิจกรรม
1.เด็กได้รู้จักใช้จินตนาการและพัฒนาทักษะในด้านการคิดสร้างสรรค์
2.เด็กได้ทักษะการคิดแบบริเริ่ม คล่องตัว ยืดหยุ่น

3.เด็กสามารถในการเชื่อมโยง ยกตัวและเปรียบเทียบสิ่งต่างๆรอบตัวที่มีลักษณะเหมือนกับรูปเรขาคณิตได้

กิจกรรม เอ๊ะ อะไรเอ่ย?


ช่วงอายุ 4 – 5 ปี

จุดประสงค์
    1.เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้รู้จักใช้จินตนาการและความสามารถของตนเอง
    2.ส่งเสริมการใช้ภาษาในการพูด เล่าเรื่องราวที่จินตนาการ
    3.เพื่อส่งเสริมการแสดงออกทางการคิดและจินตนาการผ่านการพูด
    4.เพื่อส่งเสริมการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
อุปกรณ์
    1.  ผัก ผลไม้ เช่น ส้ม มะนาว ชมพู แตงกวา
    2. ผ้าปิดตา    
    3. กล่องปริศนา  
ขั้นตอนการดำเนินการ
     ขั้นนำ
    1.ครูนำกล่องปริศนามาให้เด็กๆดู และสนทนาร่วมกันถึงกล่องปริศนานี่ว่าคืออะไร
    2.ครูสนทนากับเด็กๆและร่วมกันสร้างข้อตกลงก่อนทำกิจกรรม
            - การใช้อุปกรณ์อย่างระมัดระวัง ความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น
การใช้อุปกรณ์และเก็บอุปกรณ์เมื่อทำกิจกรรมสำเร็จ
     ขั้นสอน
     3.เด็กๆช่วยกันเตรียมอุปกรณ์การทำกิจกรรม
     4.ครูให้เด็กๆแต่ละคนต่อเป็นแถวและให้คนที่อยู่ข้างหน้าปิดตา 
และเดินไปล้วงของในกล่องปริศนาแล้วชิม ดม ว่าสิ่งนั้นคืออะไร
      5. หลังจากที่ล้วงกล่องแล้วทายว่าของสิ่งนั้นคืออะไร และให้เด็กๆเล่ามาสิ่งนั้นเป็นอย่างไร
      6. หลังจากเสร็จกิจกรรมช่วยกันเก็บอุปกรณ์
     ขั้นสรุป
     7.ครูและเด็กๆร่วมกันสนทนาถึงประโยชน์ของกิจกรรมเอ๊ะ อะไรเอ่ย
     8.ครูสนทนาร่วมกันกับเด็กๆที่ได้ทำกิจกรรมเอ๊ะ อะไรเอ่ย? ได้เล่าเรื่องต่างๆที่ได้ทำกิจกรรม
ประโยชน์
          1.ได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์และเสริมสร้างจินตนาการ
          2.เด็กๆสามารถเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองคิดและจินตนาการไว้
          3.ได้ผ่อนคลายอารมณ์และเกิดความสนุกสนานในขณะทำกิจกรรม

ช่วงอายุ 5 – 6ปี

จุดประสงค์
     1. เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์และการแก้ไขปัญหาอย่างอิสระ
     2.เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้รู้จักใช้จินตนาการและความสามารถของตนเอง
     3.ส่งเสริมการใช้ภาษาในการพูด เล่าเรื่องราวที่จินตนาการ
     4.เพื่อส่งเสริมการแสดงออกทางการคิดและจินตนาการผ่านการพูดและงานศิลปะ
     5.เพื่อส่งเสริมการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
อุปกรณ์
     1.  ผัก ผลไม้ เช่น ส้ม มะนาว ชมพู แตงกวา
     2.  กระดาษ   
     3. สีผสมอาหาร 
     4. ผ้าปิดตา    
     5. พู่กันขนาดแตกต่างกัน 
     6. กล่องปริศนา  
ขั้นตอนการดำเนินการ
     ขั้นนำ
     1.ครูนำกล่องปริศนามาให้เด็กดู และสนทนาร่วมกันถึงกล่องปริศนานี่ว่าคืออะไร
     2.ครูสนทนากับเด็กและร่วมกันสร้างข้อตกลงก่อนทำกิจกรรม
                   - การใช้อุปกรณ์อย่างระมัดระวัง ความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น
       - การใช้อุปกรณ์และเก็บอุปกรณ์เมื่อทำกิจกรรมสำเร็จ
     ขั้นสอน
     3.เด็กๆช่วยกันเตรียมอุปกรณ์การทำกิจกรรม
     4.ครูให้เด็กแต่ละคนต่อเป็นแถวและให้คนที่อยู่ข้างหน้าปิดตา 
และเดินไปล้วงของในกล่องปริศนาแล้วชิม ดม ว่าสิ่งนั้นคืออะไร
     5. หลังจากที่ล้วงกล่องแล้วทายว่าของสิ่งนั้นคืออะไร และให้เด็กๆวาดภาพที่เด็กๆ
สัมผัสนั้นลงในกระดาษ โดยจะมีกระดาษและมีสีวางอยู่ข้างๆ
     6. หลังจากเสร็จกิจกรรมช่วยกันเก็บอุปกรณ์
     ขั้นสรุป
     7.เด็กร่วมกันนำเสนอผลงานที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นจากวาดภาพและชื่นชมผลงานของแต่ละคน
     8.ครูสนทนาร่วมกันกับเด็กๆที่ได้ทำกิจกรรมเอ๊ะ อะไรเอ่ย? สร้างสรรค์ผลงาน
จากการวาดภาพที่ได้สัมผัส
     9.ครูและเด็กร่วมกันสนทนาถึงประโยชน์ของกิจกรรมเอ๊ะ อะไรเอ่ย?
ประโยชน์
     1.ได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์และเสริมสร้างจินตนาการ
     2.เด็กสามารถเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับผลงานที่ตนเองทำตามความคิดและจินตนาการได้
     3.ได้ผ่อนคลายอารมณ์และเกิดความสนุกสนานในขณะทำกิจกรรม
     4. เด็กสามารถปฏิบัติตามกฎที่ครูตั้งไว้ได้
การประเมินผล
     1.เด็กได้ฝึกทักษะการคิด และการแก้ไขปัญหาอย่างอิสระ
     2.เด็กทักษะการยอมรับความคิดเห็น และปฏิบัติตามข้อตกลง
     3.ประเมินจากการสังเกตการตอบคำถาม การเล่าเรื่อง และเขียนบันทึกระหว่างเด็กทำกิจกรรม
     4.เด็กได้ทักษะความคิดสร้างสรรค์ ได้ใช้จินตนาการแสดงผ่านผลงานได้อย่างสร้างสรรค์
     5.เด็กสามารถแสดงความรู้สึกนึกคิดการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5ออกมาในวิถีที่สร้างสรรค์




กิจกรรม หนูน้อยนักเล่า



ช่วงอายุ– ปี
 จุดประสงค์
1.เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะในด้านการคิดสร้างสรรค์
2.เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้รู้จักใช้จินตนาการ  ในการเล่าเรื่องจากภาพ
3.เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแบบริเริ่ม คล่องตัว ยืดหยุ่น และละเอียดลออ
สาระที่ควรเรียนรู้
1.การใช้อุปกรณ์อย่างถูกวิธี
2.การแบ่งปัน

สื่อ/อุปกรณ์
                · ลูกเต๋าแสนสนุก

ขั้นตอนการดำเนินการ
ขั้นนำ
              ครูและเด็กกล่าวทักทายสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับกิจกรรมแสนลูกเต๋ามาให้เด็กๆดูและให้เด็กๆ
              นั่งเป็นวงกลม และร่วมกันสร้างข้อตกลงก่อนทำกิจกรรมดังนี้
         -การรู้จักแบ่งปัน            
         -การเก็บของเข้าที
ขั้นสอน
      1.ครูนำกล่องลูกเต๋ามาให้เด็กๆดู  และรวมกันสนทนาถึงรูปภาพในลูกเต๋า  โดยใช้คำถาม
          - เด็ก ๆ ลองคิดดูซิว่า ในลูกเต๋านี้มีรูปอะไรอยู่
     2.โดยครูให้เด็กๆ ตกลงกันว่าให้จะเป็นคนเริ่มก่อน และให้เด็กๆหนึ่งคน 
      คนทอยลูกเต๋า ลูกพร้อมกัน 
     3.แล้วให้เด็กๆเล่าเรื่องราวจากรูปภาพที่ได้ ให้เพื่อนๆฟังให้ครบทุกคน
ขั้นสรุป
    ครูและเด็กรวมกันสนทนาถึงกิจกรรมที่เด็กๆเล่าเรื่อง

ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำกิจกรรม
 1.เด็กได้รู้จักใช้จินตนาการและพัฒนาทักษะในด้านการคิดสร้างสรรค์
2.เด็กได้ทักษะการคิดแบบริเริ่ม คล่องตัว ยืดหยุ่น
3.เด็กสามารถในการเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ แม้จะเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล

การประเมินผล
          ครูสังเกตและบันทึกเรื่องราวของเด็กระหว่างเด็กทำกิจกรรม

ช่วงอายุ 5-6ปี

จุดประสงค์
1.เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะในด้านการคิดสร้างสรรค์
2.เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้รู้จักใช้จินตนาการในการเล่าเรื่องจากภาพ
3.เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแบบริเริ่ม  คล่องตัว ยืดหยุ่น
4.เพื่อส่งเสริมการเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล

สาระที่ควรเรียนรู้
1.การใช้อุปกรณ์อย่างถูกวิธี
2.การแบ่งปัน

สื่อ/อุปกรณ์
                · ลูกเต๋าแสนสนุก

ขั้นตอนการดำเนินการ
     ขั้นนำ
     ครูและเด็กกล่าวทักทายสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับกิจกรรมแสนลูกเต๋ามาให้เด็กๆดูและให้เด็กๆนั่งเป็นวงกลม และร่วมกันสร้างข้อตกลงก่อนทำกิจกรรมดังนี้
      -การรู้จักแบ่งปัน             
      -การใช้อุปกรณ์อย่างระมัดระวัง ความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น
      -การเก็บของเข้าที
      ขั้นสอน
      1. ครูนำกล่องลูกเต๋ามาให้เด็กๆดู  และรวมกันสนทนาถึงรูปภาพในลูกเต๋า  โดยใช้คำถาม
      - เด็ก ๆ ลองคิดดูซิว่า ในลูกเต๋านี้มีรูปอะไรอยู่
      -เด็กๆจะเล่าเรื่องอะไรคะ
      2. โดยครูให้เด็กๆ ตกลงกันว่าให้จะเป็นคนเริ่มก่อน และให้เด็กๆหนึ่งคน 
     คนทอยลูกเต๋า 4 ลูก พร้อมกัน 
      3. แล้วให้เด็กๆเล่าเรื่องราวจากรูปภาพที่ได้ ให้เพื่อนๆฟังให้ครบทุกคน
     
    ขั้นสรุป
       ครูและเด็กรวมกันสนทนาถึงกิจกรรมที่เด็กๆเล่าเรื่อง

ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำกิจกรรม
1.เด็กได้รู้จักใช้จินตนาการและพัฒนาทักษะในด้านการคิดสร้างสรรค์
2.เด็กได้ทักษะการคิดแบบริเริ่ม คล่องตัว ยืดหยุ่น
3.เด็กสามารถในการเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ แม้จะเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล

การประเมินผล
          ครูสังเกตและบันทึกเรื่องราวของเด็กระหว่างเด็กทำกิจกรรม

ปัญหาและอุปสรรค์ในการจัดกิจกรรม
       1.รูปภาพในลูกเต๋าไม่น่าสนใจ
       2.ความคงทนของลูกเต๋า
   
สิ่งที่ควรปรับปรุงในการจัดกิจกรรม
            1.ทำให้รูปภาพให้น่าสนใจ
            2. เพิ่มความคงทนของลูกเต๋า

สรุปผลการประเมินพัฒนาการจากการจัดกิจกรรม
   1.เด็กได้รู้จักใช้จินตนาการและพัฒนาทักษะในด้านการคิดสร้างสรรค์
  2.เด็กได้ทักษะการคิดแบบริเริ่ม คล่องตัว ยืดหยุ่น
  3.เด็กสามารถในการเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ แม้จะเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล


กิจกรรม สวนสัตว์มหาสนุก

ช่วงอายุ 4-5 ปี

วัตถุประสงค์
    1. เพื่อส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการ
    2. เพื่อส่งเสริมการแสดงออก และมีความมั่นใจในตนเอง
สื่อวัสดุ/อุปกรณ์
    1. ฉาก
    2. ภาพสัตว์นานาชนิด
ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
     ขั้นนำ
     1. ครูนำภาพสัตว์มาให้เด็กดู สนทนาร่วมกันถึงลักษณะของสัตว์แต่ละชนิด และสวนสัตว์ที่เด็กๆเคยพบเจอ
    ขั้นสอน
     1. ครูอธิบายและชี้แจงถึงขั้นตอนในการทำกิจกรรม
     2. เด็กๆ ลงมือทำกิจกรรมร่วมกันอย่างอิสระ และครูคอยสังเกตการทำกิจกรรมของเด็ก
     3. เมื่อเด็กๆทำกิจกรรมเสร็จแล้ว ช่วยกันเก็บอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าที่ให้เรียบร้อย
    ขั้นสรุป
     1. ครูและเด็กร่วมกันสนทนาถึงประโยชน์ของกิจกรรมที่ได้ร่วมกันทำ
ประโยชน์จากการจัดกิจกรรม
         1. เพื่อส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการ
         2. เพื่อส่งเสริมการแสดงออก และมีความมั่นใจในตนเอง
การวัดและประเมินผล
     1. เด็กได้ฝึกทักษะทางความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการ
     2. เด็กได้ฝึกทักษะการแสดงออก และมีความมั่นใจในตนเอง

ช่วงอายุ 5-6 ปี

วัตถุประสงค์
    1. เพื่อส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการ
    2. เพื่อส่งเสริมการแสดงออก และมีความมั่นใจในตนเอง
สื่อวัสดุ/อุปกรณ์
    1. ฉาก
    2. ภาพสัตว์นานาชนิด
ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
     ขั้นนำ
     1. ครูนำภาพสัตว์มาให้เด็กดู สนทนาร่วมกันถึงลักษณะของสัตว์แต่ละชนิดและสวนสัตว์
ที่เด็กเคยพบเจอ
    ขั้นสอน
     1. ครูอธิบายและชี้แจงถึงขั้นตอนในการทำกิจกรรม
     2. เด็กๆ ลงมือทำกิจกรรมร่วมกันอย่างอิสระ และครูคอยสังเกตการทำกิจกรรมของเด็ก
     3. ให้เด็กๆวาดภาพสวนสัตว์ที่ตนเองเคยพบเจอ
    ขั้นสรุป
     1. ครูและเด็กร่วมกันสนทนาถึงประโยชน์ของกิจกรรมที่ได้ร่วมกันทำ
ประโยชน์จากการจัดกิจกรรม
     1. เพื่อส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการ
     2. เพื่อส่งเสริมการแสดงออก และมีความมั่นใจ    ในตนเอง
     3. เพื่อส่งเสริมให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ผ่อนคลายความเครียด
การวัดและประเมินผล
     1. เด็กได้ฝึกทักษะทางความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการ
     2. เด็กได้ฝึกทักษะการแสดงออก และมีความมั่นใจในตนเอง
ปัญหาและอุปสรรค์ในการจัดกิจกรรม
     1.  รูปภาพสัตว์ที่เตรียมมาจัดกิจกรรมมีจำนวนน้อยเกินไป
สิ่งที่ควรปรับปรุงในการจัดกิจกรรม
     1.   ควรเพิ่มจำนวนของรูปภาพสัตว์ให้เยอะขึ้น
สรุปผลการประเมินพัฒนาการจากการจัดกิจกรรม
      1. เด็กได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์และเสริมสร้างจินตนาการ
      2. เด็กได้สร้างความเชื่อมั่นในการแสดงออกที่จะทำผลงานร่วมกับผู้อื่น 
      3. เด็กมีความเพลิดเพลิน สนุกสนานในขณะทำกิจกรรมและชื่นชมในความสวยงามของผลงานที่
ตนได้ลงมือทำ


  กิจกรรมไหมพรมสร้างสรรค์  



ช่วงอายุ 4-5 ปี

จุดประสงค์
          1.เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด การสังเกต และการแสดงความคิดออกมาอย่างสร้างสรรค์
          2.เพื่อส่งเสริมทักษะการแสดงความรู้สึกผ่านผลงานของตนเองและผู้อื่น
          3.เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้ฝึกทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
          4.เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้ฝึกทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น และปฏิบัติตามข้อตกลง
สาระที่ควรเรียนรู้
          1.การใช้อุปกรณ์อย่างถูกวิธี
          2.การระมัดระวังในการใช้อุปกรณ์
อุปกรณ์
          1.กระดาน
          2.ไหมพรมหลากสี
3.ตะกร้าไหมพรม
ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
          ขั้นนำ
          1.ครูนำไหมพรมหลากสีมาให้เด็กดู และสนทนาร่วมกันถึงประโยชน์ของไหมพรมสามารถสร้างสรรค์
ผลงานได้ อย่างไรบ้าง
          2.ครูแบ่งกลุ่มเด็กออกเป็น กลุ่มใหญ่ และร่วมกันสร้างข้อตกลงก่อนทำกิจกรรม
                             -การใช้อุปกรณ์อย่างระมัดระวัง ความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น
                             -การใช้อุปกรณ์และเก็บอุปกรณ์เมื่อทำกิจกรรมสำเร็จ
ขั้นสอน
          3.ครูแนะนำอุปกรณ์กิจกรรมไหมพรมสร้างสรรค์ และวิธีการใช้อุปกรณ์อย่างระมัดระวัง
          4.เด็กๆแต่ละกลุ่มช่วยกันเตรียมอุปกรณ์การทำกิจกรรมพรมไหมสร้างสรรค์
          5.ครูกระตุ้นการคิดเด็กก่อนการทำกิจกรรม “หากเด็กๆมีไหมพรมเหลือเพียง เส้น
 เด็กๆนำช่วยกันสร้างสรรค์ไหมพรมเป็นอะไรได้บ้าง? ”
          6.เด็กสามารถสร้างสรรค์ผลงานจากไหมพรม เส้นได้ ครูเพิ่มจำนวนไหมพรมหลากสีให้กับเด็กๆ
และให้เด็กๆสร้างสรรค์ผลงานจากไหมพรมหลากสี  
          7.ครูให้เด็กๆระดมความคิดสร้างสรรค์ไหมพรมเป็นรูปร่างต่างๆตามจินตนาการ
          8.เด็กช่วยกันสร้างสรรค์ผลงานจากไหมพรมหลากสีให้สำเร็จ และช่วยกันเก็บอุปกรณ์ให้เรียบร้อย
ขั้นสรุป
          9.ครูและเด็กร่วมกันสนทนาถึงประโยชน์ของไหมพรม และการนำไหมพรมมาสร้างสรรค์เป็นผลงาน
          10.ครูสนทนาร่วมกันกับเด็กจากแต่ละกลุ่มที่ได้ร่วมกัน สร้างสรรค์ผลงานจากไหมพรม เส้น
          11.เด็กร่วมกันนำเสนอผลงานที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นจากไหมพรมหลากสี และชื่นชมผลงานของแต่ละกลุ่ม
ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำกิจกรรม
          1.เด็กได้ฝึกทักษะการคิดและการวางแผนในการทำงานร่วมกันผู้อื่น
          2เด็กได้ร่วมกันการคิดสร้างสรรค์ผล และแก้ไขปัญหา
          3.เด็กได้ฝึกทักษะการใช้จินตนาการและความสามารถของตนเอง
          4.เด็กได้แสดงความรู้สึกนึกคิดออกมาในวิถีที่สร้างสรรค์
การประเมินผล
          ครูประเมินพัฒนาการเด็กจากทำกิจกรรมไหมพรมสร้างสรรค์ โดยใช้เทคนิคการประเมินพัฒนาการ 
 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน คือ การเขียนบันทึก ครูสังเกตขณะเด็กทำกิจกรรมและเขียนบันทึกเรื่องราวของ 
เด็กระหว่างเด็กทำกิจกรรม                                                                               
ปัญหาและอุปสรรค์ในการจัดกิจกรรม
         1.หมุดปักบนกระดาน มีจำนวนมากเกินไป ส่งผลให้เกิดข้อจำกัดในการโยงเส้นไหมพรม
         2.ความยาวของไหมพรม มีความยาวสั้นเกินไป จึงส่งผลให้การโยงเส้นยากมากขึ้น
         3.ขนาดของเส้นไหมพรมบางเกินไป ส่งผลให้เด็กจับโยงเส้นไหมพรมได้ยาก และใช้เวลานาน
สิ่งที่ควรปรับปรุงในการจัดกิจกรรม
          1.แก้ไขการวางระยะห่างของหมุด และลดจำนวนหมุดให้น้อยลง
          2.เพิ่มความยาวของไหมพรม
          3.เปลี่ยนขนาด เส้นไหมพรมให้หนา เพื่อให้เด็กสามารถโยงเส้นไหมพรมได้ง่ายขึ้น
สรุปผลการประเมินพัฒนาการจากการจัดกิจกรรม
          1.เด็กได้ฝึกทักษะการคิด การสังเกต และการแสดงความคิดออกมาอย่างสร้างสรรค์
          2.เด็กได้ฝึกทักษะการแสดงความรู้สึกผ่านผลงานของตนเองและผู้อื่น
          3.เด็กได้ฝึกทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
          4.เด็กได้ฝึกทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น และปฏิบัติตามข้อตกลง

 ช่วงอายุ 5-6 ปี

จุดประสงค์
          1.เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด การสังเกต และการแสดงความคิดออกมาอย่างสร้างสรรค์
          2.เพื่อส่งเสริมทักษะการแสดงความรู้สึกผ่านผลงานของตนเองและผู้อื่น
          3.เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้ฝึกทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
          4.เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้ฝึกทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น และปฏิบัติตามข้อตกลง
สาระที่ควรเรียนรู้
          1.การใช้อุปกรณ์อย่างถูกวิธี
          2.การระมัดระวังในการใช้อุปกรณ์
อุปกรณ์
          1.กระดาน
          2.ไหมพรมหลากสี
3.ตะกร้าไหมพรม
ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
          ขั้นนำ
          1.ครูนำไหมพรมหลากสีมาให้เด็กดู และสนทนาร่วมกันถึงประโยชน์ของไหมพรม
สามารถสร้างสรรค์ผลงานได้ อย่างไรบ้าง
          2.ครูแบ่งกลุ่มเด็กออกเป็น กลุ่มใหญ่ และร่วมกันสร้างข้อตกลงก่อนทำกิจกรรม
                             -การใช้อุปกรณ์อย่างระมัดระวัง ความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น
                             -การใช้อุปกรณ์และเก็บอุปกรณ์เมื่อทำกิจกรรมสำเร็จ
          ขั้นสอน
          3.ครูแนะนำอุปกรณ์กิจกรรมไหมพรมสร้างสรรค์ และวิธีการใช้อุปกรณ์อย่างระมัดระวัง
          4.เด็กๆแต่ละกลุ่มช่วยกันเตรียมอุปกรณ์การทำกิจกรรมพรมไหมสร้างสรรค์
          5.ครูกระตุ้นการคิดเด็กก่อนการทำกิจกรรม “หากเด็กๆมีไหมพรมเหลือเพียง เส้น 
เด็กๆนำช่วยกันสร้างสรรค์ไหมพรมเป็นอะไรได้บ้าง? ”
          6.เด็กสามารถสร้างสรรค์ผลงานจากไหมพรม เส้นได้ ครูเพิ่มจำนวนไหมพรมหลากสีให้กับเด็กๆ
และให้เด็กๆสร้างสรรค์ผลงานจากไหมพรมหลากสี  
          7.ครูให้เด็กๆระดมความคิดสร้างสรรค์ไหมพรมเป็นรูปร่างต่างๆตามจินตนาการ
          8.เด็กช่วยกันสร้างสรรค์ผลงานจากไหมพรมหลากสีให้สำเร็จ และช่วยกันเก็บอุปกรณ์ให้เรียบร้อย
         ขั้นสรุป
          9.ครูและเด็กร่วมกันสนทนาถึงประโยชน์ของไหมพรม และการนำไหมพรมมาสร้างสรรค์เป็นผลงาน
          10.ครูสนทนาร่วมกันกับเด็กจากแต่ละกลุ่มที่ได้ร่วมกัน สร้างสรรค์ผลงานจากไหมพรม เส้น
          11.เด็กร่วมกันนำเสนอผลงานที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นจากไหมพรมหลากสี และชื่นชมผลงานของแต่ละกลุ่ม
ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำกิจกรรม
          1.เด็กได้ฝึกทักษะการคิดและการวางแผนในการทำงานร่วมกันผู้อื่น
          2เด็กได้ร่วมกันการคิดสร้างสรรค์ผล และแก้ไขปัญหา
          3.เด็กได้ฝึกทักษะการใช้จินตนาการและความสามารถของตนเอง
          4.เด็กได้แสดงความรู้สึกนึกคิดออกมาในวิถีที่สร้างสรรค์
การประเมินผล
          ครูประเมินพัฒนาการเด็กจากทำกิจกรรมไหมพรมสร้างสรรค์ โดยใช้เทคนิคการประเมิน
พัฒนาการ  เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน คือ การเขียนบันทึก ครูสังเกตขณะเด็กทำกิจกรรมและเขียนบันทึก               เรื่องราวของเด็กระหว่างเด็กทำกิจกรรม 


กิจกรรม หลอดสร้างสรรค์

ช่วงอายุ 4 – 5 ปี

จุดประสงค์
    1.   เพื่อส่งเสริมพัฒนาทักษะการคิดและเสริมสร้างจินตนาการของเด็กๆ
    2.   เพื่อให้เด็กๆ สามารถเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับผลงานที่ตนเองทำตามความคิดและจินตนาการได้
    3.   เพื่อทำให้เด็กๆ มีความเพลิดเพลิน ชื่นชมในความสวยงาม สำนึกในคุณค่าของศิลปะ
อุปกรณ์
    1. หลอดหลากสี 
    2. กาวลาเท็กซ์ 
    3. เทปใส
    4. กรรไกร  
    5.  แผ่นรอง
ขั้นตอนการดำเนินการ
    ขั้นนำ
     1.  ครูนำหลอดหลากสีมาให้เด็กดู และสนทนาร่วมกันถึงประโยชน์ของหลอดหลากสีสามารถ
สร้างสรรค์ผลงานได้ อย่างไรบ้าง
     2. ครูแบ่งกลุ่มเด็กออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ และร่วมกันสร้างข้อตกลงก่อนทำกิจกรรม
                    - การใช้อุปกรณ์อย่างระมัดระวัง ความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น
                    - การใช้อุปกรณ์และเก็บอุปกรณ์เมื่อทำกิจกรรม
ขั้นสอน
3.   ครูแนะนำอุปกรณ์กิจกรรมหลอดสร้างสรรค์ และวิธีการใช้อุปกรณ์อย่างระมัดระวัง
4.   เด็กๆแต่ละกลุ่มช่วยกันเตรียมอุปกรณ์การทำกิจกรรมหลอดสร้างสรรค์
5.   ครูกระตุ้นการคิดเด็กก่อนการทำกิจกรรมหลอดเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะตามความคิด
สร้างสรรค์ของกลุ่ม จนได้ผลงานจากหลอด
       6.   ครูให้เด็กๆระดมความคิดสร้างสรรค์หลอดเป็นรูปร่างต่างๆตามจินตนาการ
       7.   เด็กช่วยกันสร้างสรรค์ผลงานจากหลอดหลากสีให้สำเร็จ และช่วยกันเก็บอุปกรณ์ให้เรียบร้อย
      ขั้นสรุป
       8.   ครูและเด็กร่วมกันสนทนาถึงประโยชน์ของหลอด และการนำหลอดมาสร้างสรรค์เป็นผลงาน
       9.   ครูสนทนาร่วมกันกับเด็กจากแต่ละกลุ่มที่ได้ร่วมกัน สร้างสรรค์ผลงานจากหลอดหลากสี
       10.  เด็กร่วมกันนำเสนอผลงานที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นจากหลอดหลากสีและชื่นชมผลงาน
ของแต่ละกลุ่มประโยชน์
       1. เด็กได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์และเสริมสร้างจินตนาการ
       2. เด็กสามารถเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับผลงานที่ตนเองทำตามความคิดและจินตนาการได้
      3. เด็กมีความเพลิดเพลิน สนุกสนานในขณะทำกิจกรรมและชื่นชมในความสวยงามของผลงานที่ตน
ได้ลงมือทำ

ช่วงอายุ 5 – 6 ปี

จุดประสงค์
      1.       เพื่อส่งเสริมพัฒนาทักษะการคิดและเสริมสร้างจินตนาการของเด็ก ๆ
      2.       เพื่อให้เด็ก ๆ สามารถเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับผลงานที่ตนเองทำตามความคิดและจินตนาการได้
      3.       เพื่อทำให้เด็ก ๆ มีความเพลิดเพลิน ชื่นชมในความสวยงาม สำนึกในคุณค่าของศิลปะ
อุปกรณ์
      1.   หลอดหลากสี หลอดเล็ก - ใหญ่
      2.   กาวลาเท็กซ์ 
      3.   เทปใส
      4.   กรรไกร  
      5.   แผ่นรอง
ขั้นตอนการดำเนินการ
          ขั้นนำ
      1.      ครูนำหลอดหลากสี และขนาดหลอดเล็ก ใหญ่ มาให้เด็กดู และสนทนาร่วมกันถึงประโยชน์ของ
หลอดสามารถสร้างสรรค์ผลงานได้ อย่างไรบ้าง
       2.  ครูแบ่งกลุ่มเด็กออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ และร่วมกันสร้างข้อตกลงก่อนทำกิจกรรม
                    - การใช้อุปกรณ์อย่างระมัดระวัง ความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น
                    - การใช้อุปกรณ์และเก็บอุปกรณ์เมื่อทำกิจกรรม
ขั้นสอน
3.   ครูแนะนำอุปกรณ์กิจกรรมหลอดสร้างสรรค์ และวิธีการใช้อุปกรณ์อย่างระมัดระวัง
4.   เด็กๆแต่ละกลุ่มช่วยกันเตรียมอุปกรณ์การทำกิจกรรมหลอดสร้างสรรค์
5.   ครูกระตุ้นการคิดเด็กก่อนการทำกิจกรรมหลอดเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะตามความคิด
สร้างสรรค์ของกลุ่ม จนได้ผลงานจากหลอด
      6.   ครูให้เด็กๆระดมความคิดสร้างสรรค์หลอดขนาดหลอดเล็ก ใหญ่ เป็นรูปร่างต่างๆตามจินตนาการ
      7.   เด็กช่วยกันสร้างสรรค์ผลงานจากหลอดหลากสีและหลอดขนาดเล็ก ใหญ่ให้สำเร็จ และช่วยกัน
เก็บอุปกรณ์ให้เรียบร้อย
ขั้นสรุป
       8.   ครูและเด็กร่วมกันสนทนาถึงประโยชน์ของหลอด และการนำหลอดขนาดเล็ก-ใหญ่ 
มาสร้างสรรค์เป็นผลงาน
       9.   ครูสนทนาร่วมกันกับเด็กจากแต่ละกลุ่มที่ได้ร่วมกัน สร้างสรรค์ผลงานจากหลอดหลากสี
       10.  เด็กร่วมกันนำเสนอผลงานที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นจากหลอดขนาดเล็ก ใหญ่ 
และชื่นชมผลงานของแต่ละกลุ่ม
      ประโยชน์
       1. เด็กได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์และเสริมสร้างจินตนาการ
       2. เด็กสามารถเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับผลงานที่ตนเองทำตามความคิดและจินตนาการได้
       3. เด็กมีความเพลิดเพลิน สนุกสนานในขณะทำกิจกรรมและชื่นชมในความสวยงาม
ของผลงานที่ตนได้ลงมือทำ
การประเมินผล 
ครูประเมินพัฒนาการเด็กจากทำกิจกรรมหลอดสร้างสรรค์ โดยใช้เทคนิคการประเมินพัฒนาการเครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน คือ การเขียนบันทึก ครูสังเกตขณะเด็กทำกิจกรรมและเขียนบันทึกเรื่องราวของเด็กระหว่างเด็กทำกิจกรรม

ปัญหาและอุปสรรค์ในการจัดกิจกรรม
1.       เด็กบางคนจะใช้อุปกรณ์ยังไม่เป็น ส่งผลให้เด็กทำงานไม่ทันเพื่อน
2.       อุปกรณ์บางอย่างไม่เหมาะสมที่จะนำมาให้เด็กได้ทำกิจกรรม  
สิ่งที่ควรปรับปรุงในการจัดกิจกรรม
1.       คอยสังเกตเวลาที่เด็กสงสัยถึงอุปกรณ์ อธิบายและบอกว่าสิ่งนั้นคืออะไร มีวิธีใช้อย่างไร
2.       นำหลอดหลากสี และขนาดของหลอดที่เด็กๆ พบเห็นในชีวิตประจำวัน
3.       ไม่นำอุปกรณ์ที่อาจจะเกิดอันตรายต่อเด็กๆ มาจัดกิจกรรม
สรุปผลการประเมินพัฒนาการจากการจัดกิจกรรม
1. เด็กได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์และเสริมสร้างจินตนาการ
2. เด็กสามารถเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับผลงานที่ตนเองทำตามความคิดและจินตนาการได้
3. เด็กมีความเพลิดเพลิน สนุกสนานในขณะทำกิจกรรมและชื่นชมในความสวยงามของผลงานที่ตนได้ลงมือทำ

กิจกรรม ซาลอน..สวยด้วยมือเรา

     ช่วงอายุ 4 – 5 ปี

จุดประสงค์
   1.   เพื่อส่งเสริมพัฒนาทักษะการคิดและเสริมสร้างจินตนาการของเด็ก ๆ
   2.  เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการแสดงออกให้กับเด็ก ๆ
   3.   เพื่อให้เด็กๆ สามารถเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับผลงานที่ตนเองทำตามความคิดและจินตนาการได้
   4.   เพื่อทำให้เด็กๆ มีความเพลิดเพลิน ชื่นชมในความสวยงาม สำนึกในคุณค่าของศิลปะ
อุปกรณ์
    1.   ผ้าตัดเป็นรูปทรงหน้า
    2.  อุปกรณ์แต่งหน้า เช่น ลิปสติก ที่ปัดแก้ม
    3.   สีไม้
    4.   ดินสอ ยางลบ
    5.   พู่กัน

ขั้นตอนการดำเนินการ
          ขั้นนำ
      1.  ครูพาเด็ก ๆ ร้องเพลงร่างกายของเรา พร้อมทำท่าประกอบ
      2.  ครูและเด็ก ๆ ร่วมกันสนทนาถึง รูปร่าง หน้าตา ว่าเป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง เพื่อสร้างความสนใจ
และความพร้อมในการทำกิจกรรมในครั้งนี้โดยแบ่งเด็กออกเป็นกลุ่มๆ ละ 4 –5 คน และสร้างข้อตกลง
ในการปฏิบัติกิจกรรม
ขั้นสอน
      3.  ครูพาเด็ก ๆ ร้องเพลงร่างกายของเรา พร้อมทำท่าประกอบ
      4.  ครูและเด็ก ๆ ร่วมกันสนทนาถึง รูปร่าง หน้าตา ว่าเป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง เพื่อสร้างความสนใจ
และความพร้อมในการทำกิจกรรมในครั้งนี้โดยแบ่งเด็กออกเป็นกลุ่มๆ ละ 4 –5 คน 
และสร้างข้อตกลงในการปฏิบัติกิจกรรม
ขั้นสรุป
     5ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปถึงประโยชน์ของกิจกรรมที่ได้ร่วมกันทำในวันนี้ นักเรียนได้รับความรู้อะไรบ้างจากการสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะที่ครูนำมาจัดให้ และส่งผลต่อตนเอง  และต่อผู้อื่นอย่างไร
ประโยชน์
     1. เด็กได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์และเสริมสร้างจินตนาการ
     2. เด็กได้สร้างความเชื่อมั่นในการแสดงออกที่จะทำผลงานร่วมกับผู้อื่น
     3. เด็กสามารถเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับผลงานที่ตนเองทำตามความคิดและจินตนาการได้
     4. เด็กมีความเพลิดเพลิน สนุกสนานในขณะทำกิจกรรมและชื่นชมในความสวยงามของผลงาน
ที่ตนได้ลงมือทำ

ช่วงอายุ 5 – 6ปี

จุดประสงค์
      1.       เพื่อส่งเสริมพัฒนาทักษะการคิดและเสริมสร้างจินตนาการของเด็ก ๆ
      2.       เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการแสดงออกให้กับเด็ก ๆ
      3.       เพื่อให้เด็ก ๆ สามารถเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับผลงานที่ตนเองทำตามความคิดและจินตนาการได้
      4.       เพื่อทำให้เด็ก ๆ มีความเพลิดเพลิน ชื่นชมในความสวยงาม สำนึกในคุณค่าของศิลปะ
อุปกรณ์
       1.       ผ้าตัดเป็นรูปทรงหน้า          
       2.  อุปกรณ์แต่งหน้า เช่น ลิปสติก ที่ปัดแก้ม
       3.       ไหมพรม                      
      4.  สีไม้
      5.       ดินสอ ยางลบ                
      6.  กาว
      7.   พู่กัน

ขั้นตอนการดำเนินการ
    ขั้นนำ
      1.  ครูพาเด็กๆ ร้องเพลงร่างกายของเรา พร้อมทำท่าประกอบ
      2.  ครูและเด็กๆ ร่วมกันสนทนาถึง รูปร่าง หน้าตา ว่าเป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง เพื่อสร้างความสนใจ
และความพร้อมในการทำกิจกรรมในครั้งนี้โดยแบ่งเด็กออกเป็นกลุ่มๆ ละ 4 –5 คน 
และสร้างข้อตกลงในการปฏิบัติกิจกรรม
ขั้นสอน
      3. ครูนำวัสดุ – อุปกรณ์มาให้เด็กแต่ละกลุ่มและ ครูอธิบาย ชี้แจงถึงขั้นตอนในการทำกิจกรรม
      4. เด็กๆ ลงมือปฏิบัติกิจกรรมอย่างอิสระ และครูคอยสังเกตการทำงานของเด็ก
      5. เมื่อนเด็กๆ แต่ละคนทำกิจกรรมเสร็จแล้ว ช่วยกันจัดเก็บอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าที่ให้เรียบร้อย 
 และครูให้นักเรียนแต่ละนำเสนอผลงานของตัวเอง
ขั้นสรุป
       6. ครูและเด็กๆ ร่วมกันสรุปถึงประโยชน์ของกิจกรรมที่ได้ร่วมกันทำในวันนี้นักเรียนได้รับความรู้อะไรบ้าง 
จากการสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะที่ครูนำมาจัดให้ ส่งผลต่อตนเองและส่งผมต่อผู้อื่นอย่างไรบ้าง
ประโยชน์
  1. เด็กได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์และเสริมสร้างจินตนาการ
  2. เด็กได้สร้างความเชื่อมั่นในการแสดงออกที่จะทำผลงานร่วมกับผู้อื่น
  3. เด็กสามารถเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับผลงานที่ตนเองทำตามความคิดและจินตนาการได้
  4. เด็กมีความเพลิดเพลิน สนุกสนานในขณะทำกิจกรรมและชื่นชมในความสวยงาม
ของผลงานที่ตนได้ลงมือทำ

การประเมินผล
ครูประเมินพัฒนาการเด็กจากทำกิจกรรมซาลอน...สวยด้วยมือเรา โดยใช้เทคนิคการประเมินพัฒนาการ
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน คือ การเขียนบันทึก ครูสังเกตขณะเด็กทำกิจกรรมและเขียนบันทึกเรื่องราว
ของเด็กระหว่างเด็กทำกิจกรรม
ปัญหาและอุปสรรค์ในการจัดกิจกรรม
    1.       เด็กบางคนจะใช้อุปกรณ์ยังไม่เป็น ส่งผลให้เด็กทำงานไม่ทันเพื่อน
    2.       เครื่องสำอางบางอย่างเด็กไม่รู้จัก ทำให้เด็กมีความสับสนในการเลือกมาทำกิจกรรม
    3.       อปุกรณ์บางอย่างไม่เหมาะสมที่จะนำมาให้เด็กได้ทำกิจกรรม  
สิ่งที่ควรปรับปรุงในการจัดกิจกรรม
    1.  คอยสังเกตเวลาที่เด็กสงสัยถึงอุปกรณ์ หรือ เครื่องสำอาดที่เด็กไม่รู้ แล้วอธิบายและบอกว่าสิ่งนั้นคืออะไร มีวิธีใช้อย่างไร
    1.       นำเครื่องสำอางที่เด็ก ๆ พบเห็นเป็นส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน
    2.       ไม่นำอุปกรณ์ หรือ เครื่องสำอาดที่อาจจะเกิดอันตรายต่อเด็ก ๆ มาจัดกิจกรรม
สรุปผลการประเมินพัฒนาการจากการจัดกิจกรรม
     1. เด็กได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์และเสริมสร้างจินตนาการ
     2. เด็กได้สร้างความเชื่อมั่นในการแสดงออกที่จะทำผลงานร่วมกับผู้อื่น
     3. เด็กสามารถเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับผลงานที่ตนเองทำตามความคิดและจินตนาการได้
     4. เด็กมีความเพลิดเพลิน สนุกสนานในขณะทำกิจกรรมและชื่นชมในความสวยงามของผลงานที่
ตนได้ลงมือทำ

กิจกรรม เชฟ ซุปเปอร์จิ๋ว



ช่วงอายุ4-5 ปี

จุดประสงค์
      1. เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์อย่างอิสระ
      2.เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้รู้จักใช้จินตนาการและความสามารถของตนเอง
      3.เด็กสามารถแสดงความรู้สึกนึกคิดออกมาในวิถีที่สร้างสรรค์
      4.เพื่อส่งเสริมการแสดงออกทางการติดและจินตนาการผ่านการทำอาหาร
      5.เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการทำอาหาร
อุปกรณ์
      1.    ผักต่างๆ
      2.   ขนมปังแผ่นใหญ่
      3.   อุปกรณ์ทำอาหาร กระทะ ตะหลิว ช้อน ทัพพี จาน มีด
      4.   นมข้นหวาน

ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมสำหรับเด็กอายุ4-5 ปี
ขั้นนำ
     1.ครูนำผักต่างๆและอุปกรณ์ครัวให้เด็กดู และสนทนาร่วมกันถึงผักต่างๆและอุปกรณ์ครัวว่ามีอะไรบ้าง 
     2.ครูแบ่งกลุ่มเด็กออกเป็น 2 กลุ่ม  และร่วมกันสร้างข้อตกลงก่อนทำกิจกรรม
                   - การใช้อุปกรณ์อย่างระมัดระวัง ความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น
                   การใช้อุปกรณ์และเก็บอุปกรณ์เมื่อทำกิจกรรมสำเร็จ
ขั้นสอน
     3.ครูแนะนำอุปกรณ์กิจกรรมเชฟ ซุปเปอร์จิ๋ว โดยการให้เด็กตกแต่งหน้าขนมปังแผ่นใหญ่ 
และวิธีการใช้อุปกรณ์อย่างระมัดระวัง
     4.เด็กๆแต่ละกลุ่มช่วยกันเตรียมอุปกรณ์การทำกิจกรรม
     5.ครูให้เด็กแต่ละกลุ่มช่วยกันทำกิจกรรม
     ๖. หลังจากเสร็จกิจกรรมช่วยกันเก็บอุปกรณ์
ขั้นสรุป
     7.ครูและเด็กร่วมกันสนทนาถึงประโยชน์ของกิจกรรมเชฟ ซุปเปอร์จิ๋ว
ประโยชน์
     1.เด็กได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์และเสริมสร้างจินตนาการ
เด็กได้ผ่อนคลายอารมณ์และเกิดความสนุกสนานในขณะทำกิจกรรม
3.เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการทำอาหาร
การประเมินผล
      1.เด็กได้ฝึกทักษะกล้ามเนื้อมือ
      2.เด็กได้ส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์ได้ใช้จินตนาการ
      3.เด็กได้ฝึกทักษะการยอมรับความคิดเห็น และปฏิบัติตามข้อตกลง

ช่วงอายุ5-6 ปี


จุดประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์อย่างอิสระ
2.เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้รู้จักใช้จินตนาการและความสามารถของตนเอง
3.เด็กสามารถแสดงความรู้สึกนึกคิดออกมาในวิถีที่สร้างสรรค์
4.เพื่อส่งเสริมการแสดงออกทางการติดและจินตนาการผ่านการทำอาหาร
5.เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการทำอาหาร
อุปกรณ์
5.       ผักต่างๆ
6.       ขนมปังแผ่นใหญ่
7.       อุปกรณ์ทำอาหาร กระทะ ตะหลิว ช้อน ทัพพี จาน มีด
8.       นมข้นหวาน

ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมสำหรับเด็กอายุ5-6 ปี
ขั้นนำ
    1.ครูนำผักต่างๆและอุปกรณ์ครัวให้เด็กดู และสนทนาร่วมกันถึงผักต่างๆและอุปกรณ์ครัวว่ามีอะไรบ้าง
    2.ครูแบ่งกลุ่มเด็กออกเป็น 2 กลุ่ม  และร่วมกันสร้างข้อตกลงก่อนทำกิจกรรม
                   - การใช้อุปกรณ์อย่างระมัดระวัง ความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น
                   การใช้อุปกรณ์และเก็บอุปกรณ์เมื่อทำกิจกรรมสำเร็จ
ขั้นสอน
     3.ครูแนะนำอุปกรณ์กิจกรรมเชฟ ซุปเปอร์จิ๋ว โดยการให้เด็กตกแต่งหน้าขนมปังแผ่นเล็ก 
และวิธีการใช้อุปกรณ์อย่างระมัดระวัง
     4.เด็กๆแต่ละกลุ่มช่วยกันเตรียมอุปกรณ์การทำกิจกรรม
     5.ครูให้เด็กแต่ละกลุ่มช่วยกันทำกิจกรรม
     ๖.หลังจากเสร็จกิจกรรมช่วยกันเก็บอุปกรณ์
ขั้นสรุป
     7.ครูและเด็กร่วมกันสนทนาถึงประโยชน์ของกิจกรรมเชฟ ซุปเปอร์จิ๋ว
ประโยชน์
    1.เด็กได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์และเสริมสร้างจินตนาการ
    เด็กได้ผ่อนคลายอารมณ์และเกิดความสนุกสนานในขณะทำกิจกรรม
    3.เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการทำอาหาร
การประเมินผล
    1.เด็กได้ฝึกทักษะกล้ามเนื้อมือ
    2.เด็กได้ส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์ได้ใช้จินตนาการ
    3.เด็กได้ฝึกทักษะการยอมรับความคิดเห็น และปฏิบัติตามข้อตกลง
ปัญหาและอุปสรรคในการจัดกิจกรรม
1.เตรียมวัสดุมาไม่เพียงพอ เช่น ขนมปัง เป็นต้น

สิ่งที่ควรปรับปรุงในการจัดกิจกรรม
     2.ควรเตรียมขนมปังมาให้เพียงพอสำหรับการจัดกิจกรรม
สรุปผลการประเมินพัฒนาการจากการจัดกิจกรรม
    1.เด็กได้ฝึกทักษะการคิด การสังเกต และการแสดงความคิดออกมาอย่างสร้างสรรค์
    2.เด็กได้ฝึกทักษะการแสดงความรู้สึกผ่านผลงานของตนเองและผู้อื่น
    3.เด็กได้ฝึกทักษะการใช้กล้ามเนื้อมือ
    4.เด็กได้ฝึกทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น และปฏิบัติตามข้อตกลง

               กิจกรรม สร้างภาพด้วยนิ้วมือ

ช่วงอายุ 4 – 5 ปี

จุดประสงค์
     1. เด็กสามารถใช้ปลายนิ้วมือข้อปลายสุดจุ่มสีน้ำแล้วกดลงบนผ้าได้
     2. เด็กสามารถบอกหรือเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับผลงานที่ตนเองทำได้
     3. เด็กสามารถทำกิจกรรมได้อย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน
สาระที่ควรเรียนรู้
     1.การใช้อุปกรณ์อย่างถูกวิธี
     2.การแบ่งปัน
อุปกรณ์
     1.ผ้า
     2.สีจากธรรมชาติ
     3.ภาชนะใส่สี
     4.ผ้าชุดน้ำไว้สำหรับเช็ดมือเวลาเปลี่ยนสี
ขั้นดำเนินกิจกรรม
ขั้นนำ
     1.ครูนำดอกไม้ที่มีสีมาให้เด็กดู สนทนาร่วมกันถึงลักษณะดอกไม้แต่ละชนิดที่ครูนำมา 
และสนทนาเกี่ยวกับดอกไม้ที่เด็กๆ เคยพบเจอ
ขั้นสอน
     1. ใช้นิ้วมือข้อปลายสุดจุ่มสีน้ำแล้วแตะลงบนสี
     2. นำนิ้วมือที่จุ่มสีน้ำกดลงบนผ้าที่เตรียมไว้
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปถึงประโยชน์ของดอกไม้แต่ละชนิดที่นำมาทำกิจกรรมในวันนี้ 
นักเรียนได้รับความรู้อะไรบ้าง จากการสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะที่ครูนำมาจัดให้ 
และได้ความรู้อย่างไรบ้าง

ช่วงอายุ 5 – 6ปี

จุดประสงค์
     1. เด็กสามารถใช้ปลายนิ้วมือข้อปลายสุดจุ่มสีน้ำแล้วกดลงบนผ้าได้
     2. เด็กสามารถบอกหรือเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับผลงานที่ตนเองทำได้
     3. เด็กสามารถทำกิจกรรมได้อย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน
อุปกรณ์
     1.ผ้า
     2.สีจากธรรมชาติ
     3.ภาชนะใส่สี
     4.ผ้าชุดน้ำไว้สำหรับเช็ดมือเวลาเปลี่ยนสี
     5.ดินสอ/สี

ขั้นดำเนินกิจกรรม
ขั้นนำ
     1.ครูนำดอกไม้ที่มีสีมาให้เด็กดู สนทนาร่วมกันถึงลักษณะดอกไม้แต่ละชนิดที่ครูนำมา
 และสนทนาเกี่ยวกับดอกไม้ที่เด็กๆ เคยพบเจอ
ขั้นสอน
    1. ใช้นิ้วมือข้อปลายสุดจุ่มสีน้ำแล้วแตะลงบนสี
    2. นำนิ้วมือที่จุ่มสีน้ำกดลงบนผ้าที่เตรียมไว้
    3. ใช้ดินสอสีวาดต่อเติมเป็นภาพต่าง ๆ ตามความคิดของเด็กแต่ละคน
    4.ให้เด็กๆออกมาเล่าเรื่องราวที่เด็กวาด
ขั้นสรุป
    ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปถึงประโยชน์ของดอกไม้แต่ละชนิดที่นำมาทำกิจกรรมในวันนี้ 
นักเรียนได้รับความรู้อะไรบ้าง จากการสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะที่ครูนำมาจัดให้และได้ความรู้อย่างไร
ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำกิจกรรม
     1.เพื่อส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการ
     2.เด็กสามารถเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับผลงานที่ตนเองทำตามความคิดและจินตนาการได้
     3.นักเรียนมีความเพลิดเพลิน สนุกสนานในขณะทำกิจกรรมและ ชื่นชมในความสวยงาม
ของผลงานที่ตนได้ลงมือทำ
การประเมินผล
     1.  นักเรียนได้ฝึกทักษะการคิด และการแก้ไขปัญหา
     2. ได้ส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์
     3. นักเรียนได้ใช้จินตนาแสดงผ่านผลงานได้อย่างสร้างสรรค์
ปัญหาและอุปสรรค์ในการจัดกิจกรรม
     1.เด็กบางคนไม่กล้าใช้นิ้วจุ่มสี
     2.สีธรรมชาติที่นำมาใช้ไม่ค่อยติผ้า
สิ่งที่ควรปรับปรุงในการจัดกิจกรรม
     1.ควรใช้กระดาษแทนผ้า
     2.จัดตกแต่งกิจกรรมให้มีสีสันให้น่าเล่นมากขึ้น
สรุปผลการประเมินพัฒนาการจากการจัดกิจกรรม
     1. เด็กได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์และเสริมสร้างจินตนาการ
     2. เด็กได้สร้างความเชื่อมั่นในการแสดงออกที่จะทำผลงานร่วมกับผู้อื่น
     3. เด็กสามารถเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับผลงานที่ตนเองทำตามความคิดและจินตนาการได้
     4. เด็กมีความเพลิดเพลิน สนุกสนานในขณะทำกิจกรรมและชื่นชมในความสวยงาม
ของผลงานที่ตนได้ลงมือทำ















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น