วันอังคารที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ด้านสังคม

กลุ่มที่ 3
พัฒนาการและการเรียนรู้ทางสังคม



พัฒนาการทางสังคม หมายถึง การพัฒนาความสามารถในการแสดงพฤติกรรมให้สอดคล้องกับแบบแผนที่สังคมยอมรับ เพื่อดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข ซึ่งเด็กอายุ 3-6 ปีจะเป็นช่วงวัยที่สนใจเรียนรู้สังคมภายนอกบ้านมากขึ้น เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นที่อยู่รอบตัว พัฒนาการด้านสังคมของเด็กวัยนี้จึงเป็นพื้นฐานการสร้างบุคลิกภาพที่เหมาะสมของเขาในอนาคต

ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning Theory) ของแบนดูรา
                อัลเบิร์ต แบนดูรา กล่าวว่า การเรียนรู้ของมนุษย์นั้นเกิดจากพฤติกรรมบุคคลนั้นมีการปฏิสัมพันธ์ (Interaction) อย่างต่อเนื่องระหว่างบุคคลนั้น (Person) และสิ่งแวดล้อม (Environment) ซึ่งทฤษฎีนี้เน้นบุคคลเกิดการเรียนรู้โดยการให้ตัวแบบ (Learning Through Modeling) โดยผู้เรียนจะเลียนแบบจากตัวแบบ และการเลียนแบบนี้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยการสังเกตพฤติกรรมของตัวแบบ การสังเกตการณ์ตอบสนองและปฏิกิริยาต่าง ๆ ของตัวแบบ สภาพแวดล้อมของตัวแบบ ผลการกระทำ คำบอกเล่า และความน่าเชื่อถือของตัวแบบได้ การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยจึงเกิดขึ้นได้ ซึ่งกระบวนการต่าง ๆ ของการเลียนแบบของเด็ก ประกอบด้วย 4 กระบวนการ
               1. กระบวนการดึงดูดความสนใจ (Attentional Process) กิจกรรมการเรียนรู้ที่เด็กได้สังเกตตัวแบบ และตัวแบบนั้นดึงดูดให้เด็กสนใจที่จะเลียนแบบ ควรเป็นพฤติกรรมง่าย ๆ ไม่สลับซับซ้อน ง่ายต่อการเอาใจใส่ของเด็กที่เกิดการเลียนแบบและเกิดการเรียนรู้
                 2. กระบวนการคงไว้ (Retention Process) คือ กระบวนการบันทึกรหัสเป็นความจำ การที่เด็กจะต้องมีความแม่นยำในการบันทึกสิ่งที่ได้เห็นหรือได้ยินเก็บเป็นความจำ ทั้งนี้ เด็กดึงข้อมูลที่ได้จากตัวแบบออกมาใช้กระทำตามโอกาสที่เหมาะสม
             3. การะบวนการแสดงออก (Motor Reproduction Process) คือ การแสดงผลการเรียนรู้ด้วยการกระทำ คือ การที่เด็กเกิดผลสำเร็จในการเรียนรู้จากตัวแบบต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความแม่นยำ เด็กจะต้องแสดงพฤติกรรมได้จากการเรียนรู้ด้วยการเคลื่อนไหวออกมา เป็นการกระทำออกมาในรูปของการใช้กล้ามเนื้อความรู้สึกด้วยการกระทำครั้งแรกไม่สมบูรณ์ มากกว่าจะมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงและสามารถควบคุมได้ดีกว่าเด็กที่มีอายุน้อยกว่า
               4. กระบวนการจูงใจ (Motivational Process) คือ กระบวนการเสริมแรงให้กับเด็กเพื่อแสดงพฤติกรรมตามตัวแบบได้ถูกต้อง โดยเด็กเกิดการเรียนรู้จากการเรียนรู้จากการเลียนแบบตัวแบบที่จะมาจากบุคคลที่มีชื่อเสียงมากกว่าบุคคลที่ไม่มีชื่อเสียง จากการเลียนแบบตัวแบบที่มาจากบุคคลที่เป็นเพศเดียวกับเด็กมากกว่าจะเป็นเพศตรงข้าม
               แนวคิดของแบนดูรา เน้นพฤติกรรมใด ๆ ก็ตามสามารถปรับหรือเปลี่ยนได้ตามหลักการเรียนรู้ เป็นการกระตุ้นเด็ก มีการเรียนรู้พัฒนาการทางด้านสังคม โดยใช้การสังเกตตัวแบบที่เด็กเห็น เด็กมีระดับการเรียนรู้แล้ว เด็กจะมีทางเลือกใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น เพื่อเก็บสะสมพฤติกรรมที่เป็นไปได้เอาไว้ และยิ่งกว่านั้นตัวแปรจะช่วยให้เขาเลือกสถานการณ์ที่ดีที่สุดไว้ใช้ปฏิบัติต่อไป
                    ลักษณะพัฒนาการด้านสังคมของเด็กปฐมวัยมีดังนี้
1.พัฒนาการทางสังคมของเด็กวัยแรกเกิดถึง 1 ปี
ด้านสังคม เด็กจะเริ่มหันหน้าเมื่อมีคนเรียกชื่อ ยิ้มให้คนอื่น เลียนแบบกิริยา ท่าทางของคน แสดงออกถึงการรับรู้ อารมณ์และความรู้สึกของผู้อื่น ติดแม่ เข้าใจท่าทางและสีหน้าของคนอื่น กลัวคนแปลกหน้า บอกความต้องการได้ แยกตัวเองและเงาในกระจกได้ เข้าใจท่าทางและสีหน้า สนใจการกระทำของผู้อื่น ชอบเล่นคนเดียว หวงของ ชอบมีส่วนร่วม บอกสิ่งที่ต้องการด้วยคำพูดง่ายๆ รู้จักขอ
2.พัฒนาการทางสังคมของเด็กวัย 2 ปี
ด้านสังคมเล่นร่วมกับผู้อื่น แต่ยังคงต่างคนต่างเล่นอยู่ เริ่มที่จะเล่นเป็นกลุ่มกับเด็กอื่นให้ความสนใจตนเองหรือยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง ไม่ยอมแบ่งปันสิ่งของหรือของเล่นให้กับเด็กวัยเดียวกัน ช่วยเหลือตัวเองในเรื่องการเข้าห้องน้ำและแต่งตัวเองได้
3.พัฒนาการทางสังคมของเด็กวัย 3 ปี
ด้านสังคม การสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นยังไม่แน่นอนแล้วแต่อารมณ์ของเด็ก เด็กวัยนี้เป็นวัยที่ชอบเล่นคนเดียว หรือเล่นสมมุติมากกว่าจะเล่นกับคนอื่น ชอบเล่นแบบคู่ขนาน คือ เล่นของเล่นชนิดเดียวกันแต่ต่างคนต่างเล่น ขณะที่เล่นชอบออกคำสั่ง ทำหรือพูดเหมือนกับสิ่งนั้นมีชีวิต รู้จักการรอคอย เริ่มปฏิบัติตามกฎ กติกาง่ายๆ รู้จักทำงานที่ได้รับมอบหมาย เริ่มรู้ว่าสิ่งใดเป็นของคนอื่น
4.พัฒนาการทางสังคมของเด็กวัย 4 ปี
ด้านสังคม เริ่มเล่นร่วมกับผู้อื่นได้ แต่มักจะเป็นเพศเดียวกันกับตนมากกว่า มักโกรธกันแต่ไม่นานเด็กก็จะกลับมาเล่นกันอีก รู้จักการให้อภัย การขอโทษ มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย รู้จักเก็บของเล่น มีมารยาทในการอยู่ร่วมกัน
5.พัฒนาการทางสังคมของเด็กวัยระหว่าง 5-6 ปี
ด้านสังคม เล่นกับเพื่อนโดยไม่เลือกเพศและสามารถฝึกกติกาง่ายๆในการเล่นได้ สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ เล่นหรือทำงานโดยมีจุดหมายเดียวกัน รู้จักไหว้ทำความเคารพเมื่อพบผู้ใหญ่

สรุปพัฒนาการทางสังคมคือ พัฒนาการที่เกี่ยวข้องกับเด็กเช่นการเล่นและการทำงานร่วมกับผู้อื่น รู้จักการแบ่งปัน การรอคอย และปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคมที่เด็กได้อยู่อาศัย



กิจกรรมที่ 1
กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยเศษใบไม้


วัตถุประสงค์
          เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมในด้านช่วยเหลือ การแบ่งปันการช่วยเหลือความรับผิดชอบ เนื้อหา กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เป็นกลุ่มโดยการ สร้างสรรค์ศิลปะ ฉีก ตัด แปะ ด้วยเศษใบไม้


วัสดุ/อุปกรณ์
          1. เพลง “ สวัสดี”                    
          2. กระดาษ 
A4
          3. กรรไกรสำหรับเด็ก            
          4. เศษใบไม้ต่างๆ
          5. กาว

วิธีดำเนินกิจกรรมเด็กอายุ 4-5 ปี

ขั้นนำ
          1. ครูเตรียมความพร้อมให้กับเด็กด้วยเพลง สวัสดี พร้อมทำท่าทางประกอบแล้วสนทนาชักถาม เกี่ยวกับเนื้อเพลง
          2. ครูแนะนำกิจกรรมการทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยเศษใบไม้โดยให้นักเรียนร่วมกันสร้างผลงานร่วมกันเป็นกลุ่ม กลุ่มล่ะ 7-8 คน โดยแต่ละกลุ่มจะต้องสร้างสรรค์ผลงานออกมากลุ่มละ 1 ชิ้น โดยครูจะนำเศษใบไม้ที่ยังไม่ตัดและตัดเป็นรูปทรงต่างๆ เตรียมไว้ให้นักเรียนเพื่อให้นักเรียนนำมา ฉีก ปะ ติด สร้างภาพร่วมกันตามจินตนาการ
          3. อธิบายข้อตกลงเบื้องต้นเกี่ยวกับการปฏิบัติกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยเศษใบไม้
                3.1 ร่วมกันวางแผน แบ่งหน้าที่ และแสดงความคิดเห็นกับเพื่อนเกี่ยวเรื่องที่จะทำร่วมกัน
                3.2 ให้นักเรียนปรึกษากันได้ในขั้นตอนการทำงาน
ขั้นสอน
          1. ครูให้นักเรียนนั่งตามกลุ่มที่ตนเองเลือก 7-8 คน เพื่อวางแผนในการทำกิจกรรม
          2. นักเรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรมตามที่วางแผนไว้และตามความสนใจในสมาชิกของกลุ่ม ขณะที่นักเรียนทำกิจกรรมครูมีบทบาทกระตุ้นให้นักเรียนสนใจในกิจกรรมละให้แรงเสริมทางบวก ขณะที่นักเรียนทำงานเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการช่วยเหลือ การแบ่งปัน และการร่วมมือ
          3. เมื่อปฏิบัติกิจกรรมเสร็จแล้วให้เด็กแต่ละกลุ่มเก็บอุปกรณ์เข้าที่ และทำความสะอาดให้เรียบร้อย

ขั้นสรุป
         1. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงานของกลุ่ม  โดยครูกระตุ้นด้วยการใช้คำถาม
         2. สนทนาและซักถามถึงการทำงานว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง  มีปัญหาอะไรบ้าง  ช่วยกันแก้ไขปัญหาอย่างไรมีการแบ่งปันอย่างไร  ผลงานที่ทำสำเสร็จได้เพราะอะไร   การร่วมมือกันทำงานมีผลดีกับนักเรียนอย่างไร
         3. นักเรียนและครูร่วมสรุป ทบทวน ถึงประโยชน์ที่ได้รับจาการช่วยกันทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เป็นกลุ่ม

แบบประเมิน
         อายุ 4-5 ปี ประเมินโดยการการสังเกต และการสัมภาษณ์ในขณะเด็กปฏิบัติกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากเศษใบไม้

วิธีดำเนินกิจกรรมเด็กอายุ 5-6 ปี
ขั้นนำ
        1. ครูเตรียมความพร้อมให้กับเด็กด้วยเพลง “สวัสดี” พร้อมทำท่าทางประกอบแล้วสนทนาชักถาม เกี่ยวกับเนื้อเพลง
        2. ครูแนะนำกิจกรรมการทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยเศษใบไม้โดยให้นักเรียนร่วมกันสร้างผลงานร่วมกันเป็นกลุ่ม กลุ่มล่ะ 7-8 คน โดยแต่ละกลุ่มจะต้องสร้างสรรค์ผลงานออกมากลุ่มละ 1 ชิ้น โดยครูจะให้นักเรียนช่วยกันนำเศษใบไม้มา ฉีก ตัด ปะ สร้างภาพร่วมกันตามจินตนาการ
        3. อธิบายข้อตกลงเบื้องต้นเกี่ยวกับการปฏิบัติกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
ด้วยเศษใบไม้
                3.1 ร่วมกันวางแผน แบ่งหน้าที่ และแสดงความคิดเห็นกับเพื่อนเกี่ยวเรื่องที่จะทำร่วมกัน
                3.2 ให้นักเรียนปรึกษากันได้ในขั้นตอนการทำงาน

ขั้นสอน
        1. ครูให้นักเรียนนั่งตามกลุ่มที่ตนเองเลือก 7-8 คน เพื่อวางแผนในการทำกิจกรรม
        2. นักเรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรมตามที่วางแผนไว้และตามความสนใจในสมาชิกของกลุ่ม ขณะที่นักเรียนทำกิจกรรมครูมีบทบาทกระตุ้นให้นักเรียนสนใจในกิจกรรมละให้แรงเสริมทางบวก ขณะที่นักเรียนทำงานเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการช่วยเหลือ การแบ่งปัน และการร่วมมือ
        3. เมื่อปฏิบัติกิจกรรมเสร็จแล้วให้เด็กแต่ละกลุ่มเก็บอุปกรณ์เข้าที่ และทำความสะอาดให้เรียบร้อย

ขั้นสรุป
        1. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงานของกลุ่ม  โดยครูกระตุ้นด้วยการใช้คำถาม
        2. สนทนาและซักถามถึงการทำงานว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง  มีปัญหาอะไรบ้าง  ช่วยกันแก้ไขปัญหาอย่างไรมีการแบ่งปันอย่างไร  ผลงานที่ทำสำเสร็จได้เพราะอะไร   การร่วมมือกันทำงานมีผลดีกับนักเรียนอย่างไร
       3. นักเรียนและครูร่วมสรุป ทบทวน ถึงประโยชน์ที่ได้รับจาการช่วยกันทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เป็นกลุ่ม

การประเมินผล
        อายุ 5-6 ปี สังเกตพฤติกรรมทางสังคมของนักเรียน ในขั้นดำเนินกิจกรรม โดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมทางสังคม

ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำกิจกรรม

        1. นักเรียนได้กระบวนการทำงานเป็นกลุ่มและได้พัฒนาทักษะด้านภาษาในการสร้างเรื่องราวของผลงานเป็นกลุ่ม
        2. นักเรียนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากเพื่อนในกลุ่ม  และการยอมรับความคิดเห็นของเพื่อนในกลุ่ม
        3. นักเรียนได้มีความรับผิดชอบในการทำกิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย


กิจกรรมที่ 2
กิจกรรมการทำศิลปะเป็นกลุ่ม


วัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมความร่วมมือ ในด้านการร่วมมือ การช่วยเหลือ ความรับผิดชอบ เนื้อหา กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เป็นกลุ่ม โดยการวาดภาพระบายสีเทียน พิมพ์ภาพด้วยนิ้วมือ ฉีกปะกระดาษสี ที่เน้นพฤติกรรมความร่วมมือโดยที่เด็กแต่ละกลุ่มร่วมมือกันวางแผนและทํางาน ร่วมกันในการสร้างสรรค์ผลงานของกลุ่ม
 วัสดุ/อุปกรณ์
        1. สำสี
2. กระดาษเอสาม
3. สีเทียน  4. สีน้ำ  5. ฟองน้ำ  6. กระดาษสี7. กาว  8. กรรไกร 9. พู่กัน 10. จานใส่สี
ขั้นการดําเนินกิจกรรมเด็กอายุ 4-5 ปี
ขั้นนำ                                                           
            1. เด็กและครูร่วมกันร้องเพลง “เพลงชวนเพื่อน” พร้อมทําท่าประกอบ แล้วสนทนาซักถาม เกี่ยวกับเนื้อเพลง                                                 
           2. แนะนําการทํากิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เป็นกลุ่ม โต๊ะที่ 1 กิจกรรมเส้นสีสร้างสรรค์ โดยครูจะมีภาพมาให้ แล้วให้เด็กช่วยกันระบายสีด้วยสีเทียน    โต๊ะที่ 2 กิจกรรมฟิงเกอร์เพ้นท์ ครูให้เด็กพิมพ์ภาพด้วยนิ้วมือหรือฟองน้ำ โต๊ะที่ 3 กิจกรรมต่อเสริมเติมสวย ครูจะตัดกระดาษสีเป็นรูปทรงต่างๆ และมีสำลีให้ จากนั้นให้เด็กนำกระดาษมาปะ ติด เป็นรูปต่างๆ                                     
           3. อธิบายข้อตกลงเบื้องต้นเกี่ยวกับการปฏิบัติกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เป็นก
ลุ่ม                                     3.1 ร่วมกันวางแผนและแสดงความคิดเห็นกับเพื่อนเกี่ยวกับเรื่องที่จะทําร่วมกัน                                3.2 ให้เด็กปรึกษากันได้ในขั้นของการทํางาน 3.3 เด็กทํางานร่วมกันจนกว่าจะเสร็จและหมดเวลาของกิจกรรมในแต่ละครั้ง โดยให้เด็กแต่ละกลุ่มเลือกทํากิจกรรมด้วยตนเอง แต่ต้องไม่ซ้ำกับกลุ่มอื่น และเด็กแต่ละกลุ่มจะทํางานร่วมกันเพื่อที่จะให้ได้เป็นผลงานของกลุ่ม
ขั้นการดำเนินการ                                                      
           1. ให้เด็กนั่งตามกลุ่มกิจกรรมที่ตนเองเลือก กลุ่มละ 5 คน เพื่อร่วมกันทําการวางแผน ในการทํากิจกรรม กระตุ้นให้เด็กสนใจในกิจกรรม และให้แรงเสริมทางบวกขณะที่เด็กทํางาน เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมความร่วมมือ การช่วยเหลือ และความรับผิดชอบ                       

           2. ขั้นทํากิจกรรมร่วมกัน เด็กลงมือปฏิบัติกิจกรรมตามที่ได้วางแผนไว้ในรูปแบบต่างๆ ที่ตรงตามความสนใจของสมาชิกในกลุ่ม                                            
           3. เมื่อปฏิบัติกิจกรรมเสร็จสิ้นแล้ว ให้แต่ละกลุ่มเก็บอุปกรณ์เข้าที่ และทําความสะอาดโต๊ะ กิจกรรมให้เรียบร้อย

ขั้นสรุป
           1. ให้เด็กแต่ละกลุ่มได้ออกมานําเสนอผลงานของกลุ่ม โดยครูกระตุ้นด้วยการใช้คําถาม                        2. สนทนาและซักถามถึงการทํางานว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง มีปัญหาอะไรบ้าง ช่วยกันแก้ไข ปัญหาอย่างไร ผลงานที่ทําสําเร็จได้เพราะอะไร การร่วมมือกันทํางานมีผลดีกับเด็ก ๆอย่างไร                                     3. เด็กและครูร่วมกันสรุป ทบทวนถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการช่วยกันทํากิจกรรมศิลปะ สร้างสรรค์เป็นกลุ่ม
ขั้นการดําเนินกิจกรรมเด็กอายุ 5-6 ปี
 ขั้นนำ                                                            
           1. เด็กและครูร่วมกันร้องเพลง “เพลงชวนเพื่อน” พร้อมทําท่าประกอบ แล้วสนทนาซักถาม เกี่ยวกับเนื้อเพลง  

           2. แนะนําการทํากิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เป็นกลุ่ม โต๊ะที่ 1 กิจกรรมเส้นสีสร้างสรรค์ โดยครูจะให้เด็กๆช่วยกันวาดภาพระบายสีด้วยสีเทียน  โต๊ะที่ 2 กิจกรรมฟิงเกอร์เพ้นท์ ครูให้เด็กพิมพ์ภาพด้วยนิ้วมือหรือฟองน้ำตามจินตนาการ โต๊ะที่ 3 กิจกรรมต่อเสริมเติมสวย โดยครูจะมีกระดาษสีและมีสำลีให้ แล้วให้เด็กๆช่วยกัน ฉีก  ปะ ติด เป็นรูปต่างๆ

ขั้นการดำเนินการ                                                      
           1. ให้เด็กนั่งตามกลุ่มกิจกรรมที่ตนเองเลือก กลุ่มละ 5 คน เพื่อร่วมกันทําการวางแผน ในการทํากิจกรรม กระตุ้นให้เด็กสนใจในกิจกรรม และให้แรงเสริมทางบวกขณะที่เด็กทํางาน เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมความร่วมมือ การช่วยเหลือ และความรับผิดชอบ                       
         
           2. ขั้นทํากิจกรรมร่วมกัน เด็กลงมือปฏิบัติกิจกรรมตามที่ได้วางแผนไว้ในรูปแบบต่างๆ ที่ตรงตามความสนใจของสมาชิกในกลุ่ม                                   
           3. เมื่อปฏิบัติกิจกรรมเสร็จสิ้นแล้ว ให้แต่ละกลุ่มเก็บอุปกรณ์เข้าที่ และทําความสะอาดโต๊ะ กิจกรรมให้เรียบร้อย
 ขั้นสรุป
           1. ให้เด็กแต่ละกลุ่มได้ออกมานําเสนอผลงานของกลุ่ม โดยครูกระตุ้นด้วยการใช้คําถาม                       2. สนทนาและซักถามถึงการทํางานว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง มีปัญหาอะไรบ้าง ช่วยกันแก้ไข ปัญหาอย่างไร ผลงานที่ทําสําเร็จได้เพราะอะไร การร่วมมือกันทํางานมีผลดีกับเด็ก ๆอย่างไร                                     3. เด็กและครูร่วมกันสรุป ทบทวนถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการช่วยกันทํากิจกรรมศิลปะ สร้างสรรค์เป็นกลุ่ม
การประเมินผล 4-5 ปี                                                          
           สังเกตพฤติกรรมความร่วมมือของเด็ก ในขั้นดําเนินกิจกรรม โดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรม
ความร่วมมือ
   
การประเมินผล 5-6 ปี                            
           สังเกตพฤติกรรมความร่วมมือของเด็ก ในขั้นดําเนินกิจกรรม โดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรม ความร่วมมือ และใช้คำถามเพื่อถามเกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำ เช่น เด็กๆวางแผนการทำศิลปะอย่างไร เด็กๆแบ่งงานในการสร้างผลงานศิลปะอย่างไร
ประโยชน์                    
           1
.เด็ก​มีพฤติกรรมความร่วมมือในด้านการร่วมมือ​ การช่วยเหลือและความรับผิดชอบ                           2.เด็กได้ร่วมมือกันวางแผนและทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
  

กิจกรรมที่ 3กิจกรรมลูกโป่งหรรษา 

 จุดมุ่งหมาย
       เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมความร่วมมือ ในด้านการร่วมมือ การช่วยเหลือ ความรับผิดชอบ เนื้อหา กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เป็นกลุ่ม โดยทำกิจกรรมส่งลูกโป่งข้ามศรีษะด้วยแขนสองข้าง เน้นพฤติกรรมความร่วมมือโดยที่เด็กแต่ละกลุ่มร่วมมือกันวางแผนและทํากิจกรรมร่วมกันและช่วยกันแก้ปัญหาปัญหาในขณะกิจกรรม

วัตถุประสงค์
       1. เล่นเกมส่งลูกโป่งข้ามศรีษะโดยใช้มือ2ข้าง
       2. เล่นและร่วมกิจกรรมกับผู้อื่นได้
       3. ปฏิบัติตามข้อตกลงได้
       4. แก้ปัญหาในการเล่นและตัดสินใจได้

วัสดุ/อุปกรณ์                                                                                  
       1. ลูกโป่ง
       2. นกหวีด

วิธีการดำเนินกิจกรรม
       วิธีการเล่นแบ่งเป็น 2 ช่วงอายุ คือ ช่วงอายุ (2 - 4 ขวบ) และช่วงอายุ (4 - 6 ขวบ)

ขั้นนำ
        1. ครูและเด็กกล่าวทักทาย สนทนาร่วมกันเกี่ยวกับกิจกรรม ลูกโป่งหรรษา และตกลงกันเรื่องกฎกติกา
ขั้นสอน
        1. ครูอธิบายและสาธิตวิธีการเล่นลูกโป่งหรรษา
        2. เด็ก ๆ ร่วมกันปฏิบัติกิจกรรมลูกโป่งหรรษา ช่วงอายุ (2 - 4 ขวบ)   โดยแบ่งออกเป็น2กลุ่มกลุ่มละเท่าๆกัน ตัวแทน2คนออกมารับลูกโป่งที่เป่าแล้วที่ครูเตรียมไว้ให้
        3. เด็กที่เหลือยืนต่อแถวเป็นแถวตอนลึก
        4. ฟังสัญญาณนกหวีดจากครูแล้วส่งลูกโป่งโดยใช้แขนทั้ง2ข้างส่งไปเรื่อยๆจนถึงคนสุดท้ายทีมไหนเสร็จก่อนทีมนั้นนั่งลงแล้วจะถือว่าเป็นทีมผู้ชนะการเล่นของช่วงอายุ (4 - 6 ขวบ) คือ แบ่งผู้เล่นออกเป็น   2  ทีม ทีมละเท่าๆกันโดยแต่ละทีมจะตกลงกันว่าใครจะเป็นหัวหน้าโดยให้นักเรียนเลือกคนที่แข็งแรงที่สุดในทีม แล้วหัวหน้าของทั้ง2ทีมจะออกมารับลูกโป่งที่ครูเตรียมไว้ให้คน
        1. ละสี แล้วกลับเข้าที่เพื่อที่จะรอเสียงสัญญาณนกหวีด
        2. ครูเป่านกหวีดเพื่อให้สัญญาณเริ่มของทั้ง2 ทีม
        3. หัวหน้าทีมเป่าลูกโป่งจนได้ขนาดที่ครูกำหนดให้ หลังจากนั้นมัดโดยห้ามใช้ยางยืด ให้พันลูกโป่งเป็นเงื่อนแล้วส่งต่อไปให้ลูกทีมจนถึงคนสุดท้ายแล้วนั่งลงทีมไหนนั่งลงก่อนถือว่าทีมนั้นเป็นผู้ชนะ

ขั้นสรุป
         1. เมื่อปฏิบัติกิจกรรมเสร็จ ครูพาเด็ก ๆ ทำความสะอาดร่างกายก่อนเข้าห้องเรียน
         2. ครูและเด็กช่วยกันสรุปกิจกรรมที่ปฏิบัติและประโยชน์ที่ได้รับจากกิจกรรมในครั้งนี้

ประโยชน์ที่ได้รับ
         1. เด็กได้ฝึกทักษะทางด้านสังคม และการเล่นร่วมกับผู้อื่น
         2. เด็กได้ฝึกการร่วมมือ การช่วยเหลือและการแก้ปัญหา
         3. เด็กได้ฝึกความสามัคคีในการทำกิจกรรม
         4. เด็กได้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน
         5. เด็กได้ฝึกปฏิบัติตนตามกฎระเบียบกติกาในการทำกิจกรรม

วิธีการประเมิน
         1. สังเกตการเล่นเกมส่งลูกโป่งข้ามศรีษะโดยใช้สองมือ
         2. สังเกตการเล่นและร่วมกิจกรรมกับผู้อื่น
         3. สังเกตการปฏิบัติตามข้อตกลง
         4. สังเกตการแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจภายในแต่ละกลุ่ม



กิจกรรมที่ 4
กิจกรรมกิจกรรม เสือกินวัว


 วัตถุประสงค์
1.เพื่อพัฒนาทักษะทางด้านสังคมสำหรับเด็กปฐมวัยในการเล่นร่วมกับผู้อื่น
2.เพื่อส่งเสริมการเคารพกฎระเบียบและกติกาในการปฏิบัติกิจกรรมร่วมกัน
3.เพื่อฝึกความสามัคคี ร่วมและการแบ่งปัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการปฏิบัติกิจกรรม

สื่อและวัสดุอุปกรณ์
1.หน้ากาเสือและวัว
2.นกหวีด

ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
วิธีการเล่นแบ่งเป็น 2 ช่วงอายุ คือ ช่วงอายุ (2 - 4 ขวบ) และช่วงอายุ (4 - 6 ขวบ)
ขั้นนำ
        - ครูและเด็กกล่าวทักทาย สนทนาร่วมกันเกี่ยวกับกิจกรรม เสือกินวัว ตกลงกันเรื่องกฎกติกา และร่วมร้องเพลงจับมือกันเป็นวงกลม
ขั้นสอน
-          -  ครูอธิบายและสาธิตวิธีการเล่นเสือกินวัว
    -  เด็ก ๆ ร่วมกันปฏิบัติกิจกรรมเสือกินวัวช่วงอายุ (2 - 4 ขวบ)   โดยเลือกตัวแทน 2 คน
(
คนเป็นเสือ คนเป็นวัว)
    -  เด็กที่เหลือจับมือกันเป็นวงกลม (คอก)
    -  ให้เสืออยู่นอกคอกพยายามเข้าไปในคอกเพื่อจับวัวกินคอกห้ามปล่อยให้เสือเข้าได้อีกวิธีหนึ่งในการเล่นของช่วงอายุ (4 - 6 ขวบ) คือ
     -  แบ่งผู้เล่นออกเป็น   2  ฝ่าย  ฝ่ายละเท่า ๆ กันและส่งตัวแทนออกมาเป็นเสือและวัว ฝ่ายละ  1  คน  ผู้เล่นยืนจับมือกันเป็นวงกลม ไม่ปะปนกัน ครึ่งหนึ่งเป็นเสือ อีกครึ่งหนึ่งเป็นวัวยืนสลับกัน
     -  ฝ่ายเสืออยู่นอกคอกพยายามเข้าไปในคอกเพื่อจับวัวกิน   เสือต้องเข้าคอกทางฝ่ายของตนยืนอยู่  และฝ่ายของตนก็ปล่อยให้เสือเข้าได้
     -  ถ้าเสือเตะวัวได้แล้ว ก็เปลี่ยนให้เด็กคนอื่น ๆ สลับกันออกมาเล่นเรื่อย ๆ

ขั้นสรุป
     -  เมื่อปฏิบัติกิจกรรมเสร็จ ครูพาเด็ก ๆ ทำความสะอาดร่างกายก่อนเข้าห้องเรียน
     -  ครูและเด็กช่วยกันสรุปกิจกรรมที่ปฏิบัติและประโยชน์ที่ได้รับจากกิจกรรมในครั้งนี้

ประโยชน์ที่ได้รับจากกิจกรรม
             1. เด็กได้ฝึกทักษะทางด้านสังคม และการเล่นร่วมกับผู้อื่น
             2. เด็กได้ฝึกการร่วมมือ การช่วยเหลือและการแก้ปัญหา
             3. เด็กได้ฝึกความสามัคคีในการทำกิจกรรม
             4. เด็กได้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน
             5. เด็กได้ฝึกปฏิบัติตนตามกฎระเบียบกติกาในการทำกิจกรรม




กิจกรรมที่ 5 กิจกรรม
กิจกรรมประดิษฐ์ดอกไม้แสนสวยจากถ้วยเยลลี่ปีโป้


วัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมในด้านสังคม การส่งทำงานร่วมกับผู้อื่น การแบ่งปันซึ่งกันและกัน การรอคอย ความสามัคคี และรับผิดชอบ กิจกรรมประดิษฐ์ดอกไม้แสนสวยจากถ้วยเยลลี่ปีโป้        

วัสดุ อุปกรณ์
1.ถ้วยเยลลี่ปีโป้  
2.หลอด               3.ภาพดอกไม้
4.กาว
5.กรรไกร 
6.สีเทียน                                 
         

วิธีดำเนินกิกรรมเด็กอายุ 4-5 ปี
                                                                                                                                                                    ขั้นนำ
1.ครูเตรียมความพร้อมให้เด็กด้วยเพลง ยินดีที่พบกัน” พร้อมท่าทางประกอบ                                                                     
2.ครูแนะนำกิจกรรมการประดิษฐ์ดอกไม้แสนสวยจากถ้วยเยลลี่ปีโป้ โดยให้เด็กร่วมกันสร้างผลงานเป็นกลุ่ม โดยครูให้เด็กจับกลุ่ม 5-6 คน แต่ละกลุ่มจะต้องสร้างผลงานตนเองมา 1 ชิ้น โดยครูจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อมก่อนเริ่มกิจกรรม ครูนำถ้วยเยลลี่ปีโป้ที่ยังไม่ตัดก้น นำมาตัดเตรียมไว้เพื่อให้นักเรียนนำหลอดมาใส่ก้นถ้วยปีโป้ และสร้างดอกไม้จากถ้วยเยลลี่ปีโป้ร่วมกันตามจินตนาการ

3. ครูสร้างข้อตกลงร่วมกันกับเด็ก ขณะปฏิบัติกิจกรรมประดิษฐ์ดอกไม้แสนสวยจากถ้วยเยลลี่ปีโป้
- ร่วมกันวางแผน แบ่งหน้าที่กันและปรึกษากันได้ในขั้นตอนการทำงาน- เมื่อทำกิจกรรมเสร็จแล้วช่วยกันทำความสะอาดให้เรียบร้อย
ขั้นสอน
1.ครูแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5-คน แล้วครูสาธิตวิธีการประดิษฐ์ดอกไม้แสนสวยจากถ้วยเยลลี่ปีโป้ให้นักเรียนดู โดยครูสาธิตดังนี้
-ขั้นตอนที่หนึ่ง ระบายสีภาพดอกไม้ที่เด็กเลือก เมื่อระบายสีเสร็จเอากรรไกรตัดตามเส้นรูปดอกไม้
-ขั้นตอนที่สอง นำถ้วยปีโป้ที่ตัดก้นเรียบร้อยแล้ว แล้วเอาหลอดที่เตรียมไว้สอดไว้ก้นปีโป้ตรงด้านล่าง
              -ขั้นตอนที่สาม ทากาวตรงรอบวงกลมรอบถ้วยเยลลี่ปีโป้แล้วเอาภาพดอกไม้ไปติดให้สวยงามตรงที่เราทากาวไว้จากนั้นเป็นอันเสร็จเรียบร้อย
2.เด็กลงมือปฏิบัติกิจกรรมตามความสนใจในกลุ่มร่วมกัน ขณะที่เด็กปฏิบัติกิจกรรมครูมีบทบาทในการกระตุ้นให้เด็กเกิดแรงเสริมทางบวก ขณะที่เด็กปฏิบัติกิจกรรม เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการช่วยเหลือการทำงานร่วมมือกัน
3.เมื่อปฏิบัติกิจกรรมเรียบร้อยแล้ว ให้เด็กแต่ละกลุ่มช่วยกันเก็บอุปกรณ์เข้าที่ให้เรียบร้อย                                
ขั้นสรุป
1.เมื่อเด็กทำกิจกรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยครูสนทนาซักถาม ถึงการทำงานร่วมกัน ว่าเด็กทำกิจกรรมนี้ได้อะไรจากกิจกรรมนี้บ้าง มีการแบ่งหน้าที่กันอย่างไร ช่วยเหลือกันอย่างไร 
2.นักเรียนและครูสรุปร่วมกัน ถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการทำกิจกรรมร่วมกัน     
วิธีดำเนินกิกรรมเด็กอายุ 5-6 ปี
ขั้นนำ
1.ครูเตรียมความพร้อมให้เด็กด้วยเพลง ยินดีที่พบกัน” พร้อมท่าทางประกอบ                                                                     
2.ครูแนะนำกิจกรรมการประดิษฐ์ดอกไม้แสนสวยจากถ้วยเยลลี่ปีโป้ โดยให้เด็กร่วมกันสร้างผลงานเป็นกลุ่ม โดยครูให้เด็กจับกลุ่ม 5-6 คน แต่ละกลุ่มจะต้องสร้างผลงานมา 1 ชิ้น โดยครูจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อมก่อนเริ่มกิจกรรม โดยวัสดุอุปกรณ์ ครูนำมาเตรียมไว้เพื่อให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมสร้างดอกไม้จากถ้วยเยลลี่ปีโป้ร่วมกันตามจินตนาการ
3.ครูสร้างข้อตกลงร่วมกันกับเด็ก ขณะปฏิบัติกิจกรรมประดิษฐ์ดอกไม้แสนสวยจากถ้วยเยลลี่ปีโป้
          - ร่วมกันวางแผน แบ่งหน้าที่ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน          - เมื่อทำกิจกรรมเสร็จแล้วช่วยกันทำความสะอาดให้เรียบร้อย
ขั้นสอน
1.ครูแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3-คน แล้วครูอธิบายถึงวิธีการประดิษฐ์ดอกไม้แสนแสนสวยจากถ้วยเยลลี่ปีโป้
2.เด็กลงมือปฏิบัติกิจกรรมตามความสนใจในกลุ่มร่วมกัน ขณะที่เด็กปฏิบัติกิจกรรมครูมีบทบาทในการกระตุ้นให้เด็กเกิดแรงเสริมทางบวกขณะที่เด็กปฏิบัติกิจกรรม เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการช่วยเหลือ การทำงานร่วมมือกัน-3.เมื่อปฏิบัติกิจกรรมเรียบร้อยแล้ว ให้เด็กช่วยกันเก็บอุปกรณ์เข้าที่                
ขั้นสรุป

1.เมื่อเด็กทำกิจกรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยครูสนทนาซักถาม ถึงการทำงานร่วมกัน ว่าเด็กทำกิจกรรมนี้ได้อะไรจากกิจกรรมนี้บ้าง มีการแบ่งหน้าที่กันอย่างไร ช่วยเหลือกันอย่างไร 
2.นักเรียนและครูสรุปร่วมกัน ถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการทำกิจกรรมร่วมกัน
การประเมินผล
อายุ 5-6 ปี สังเกตพฤติกรรมทางสังคมของเด็กนักเรียน ในขั้นดำเนินกิจกรรม โดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมทางสังคมประโยชน์ที่ได้รับจากการทำกิจกรรม
1.เกิดทักษะการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
2.รู้จักการรอคอย
3.เด็กรู้จักรับผิดชอบเมื่อทำกิจกรรมเสร็จต้องช่วยกันทำความสะอาดบริเวณที่ตนเองทำกิจกรรม



สรุปผลการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยเศษใบไม้
           
จัดกิจกรรมเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ.2562
ผู้รับผิดชอบ 1.นางสาวศุวลักษณ์ สำรวมจิตร       รหัสนักศึกษา 59191860209
                       2.นางสาวดิมาพร เพ่งพิศ                รหัสนักศึกษา  59191860220 
              

จากการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากเศษใบไม้ในครั้งนี้ พบว่า นักเรียนมีความช่วยเหลือกัน
ได้ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มมีความสามัคคีและมีการร่วมมือในการทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดจากกลุ่มรับฟังความคิดเห็นกับผู้อื่น และปฏิบัติตามข้อตกลงที่วางไว้ร่วมกัน นักเรียนให้ความร่วมมือดีมากสมาชิกในกลุ่มช่วยกันทำงานกันอย่างมีระบบทำให้การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ผ่านไปได้ด้วยดี

ข้อเสนอแนะ
1.อาจจะนำใบไม้ไปตากแดดก่อนเพื่อไม่ให้ใบกรอบเกินไป
2.จัดสรรเวลาให้เหมาะสมกับกิจกรรม

3.ควรเลือกใบไม้ที่ปะติดง่าย



ภาพกิจกรรม



   
  



สรุปการจัดกิจกรรมการทำศิลปะเป็นกลุ่ม


วันที่ 12 กรกฎาคม 2562         
             
ผู้รับผิดชอบกิจกรรม
 : 1. นางสาววุฒิพร   เหมาะตัว  รหัสนักศึกษา  59191860309                                                                2. นางสาวชมภู     ดาทอง     รหัสนักศึกษา  59191860317



จากการทดลองกิจกรรมการทำศิลปะเป็นกลุ่มโดยได้ทดลองใช้กับนักศึกษาชั้นปีที่ สาขาการศึกษาปฐมวัยจำนวนหนึ่งพบว่า ผู้ได้รับการทดลองมีความสนใจในตัวกิจกรรมและสื่อที่นำมาใช้ ๆ ช่วยกันคิดออกแบบผลงานของกลุ่ม   มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์พูดคุยเกี่ยวกับสื่อ พูดคุยสอบถามเกี่ยวกับการทำกิจกรรมดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ และได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่มสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ข้อเสนอแนะ
1.ควรใช้วัสดุที่หลากหลาย
2.ควรนำวัสดุที่เป็นธรรมชาติมาใช้ด้วย
  
ภาพกิจกรรม


 








สรุปผลการจัดกิจกรรมลูกโป่งหรรษา



            จัดกิจกรรมเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.. 2562

            ผู้รับผิดชอบ     1. นางสาวสุกัญญา  แซ่อึง     รหัสนักศึกษา 59191860116

                                     2. นางสาววารุณี  เหล่างาม    รหัสนักศึกษา 59191860207

            จากการจัดกิจกรรมลูกโป่งหรรษาครั้งนี้ พบว่า ผู้เล่นให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมระหว่างที่ผู้เล่นทำกิจกรรม ผู้เล่นมีความสามัคคีและการร่วมมือในการเล่นกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น มีไหวพริบที่ดีช่วยกัแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าช่วยกันหาผู้นำทีมโดยการโหวดการออกความคิดเห็นภายในกลุ่มของตนเอง มีการวางแผนการตกลงภายในกลุ่มและรับผิดชอบในหน้าที่ที่ตนได้รับมอบหมายในกลุ่มเป็นอย่างดี กาทำกิจกรรมในครั้งนี้เป็นอย่างดีในแต่ละกลุ่มและผู้ปฏิบัติกิจกรรมนี้สามารถปฏิบัติตามข้อตกลงที่วางไว้ร่วมกันได้ มีความกระตือรือร้นที่จะทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นเพื่อให้สำเร็จตามที่คาดหวัง ขณะที่ทำกิจกรรมผู้เล่นมีอารมณ์ร่าเริงแจ่มใสและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี

       ข้อเสนอแนะ
       1. บริเวณพื้นที่ทำกิจกรรมค่อนข้างมีพื้นที่น้อย
  2. 
การใช้เสียงอาจรบกวนผู้ทำกิจกรรมฐานอื่นเนื่องจากไม่ได้แยกโซนกิจกกรม


    ภาพกิจกรรม



                        
  
                         







สรุปผลการจัดกิจกรรมเสือกินวัว

จัดกิจกรรมเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ.2562
ผู้รับผิดชอบ 1. นางสาวเพ็ญศิริ   มะลิหอม     รหัสนักศึกษา 59191860113
                2. นางสาวสร้อยสวรรค์   ทางดี    รหัสนักศึกษา 59191860114

                จากการจัดกิจกรรมเสือกินวัวในครั้งนี้ พบว่า ผู้เล่นมีความสามัคคีและการร่วมมือในการเล่นกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น และปฏิบัติตามข้อตกลงที่วางไว้ร่วมกัน มีความกระตือรือร้น มีไหวพริบ คล่องแคล่วว่องไว อารมณ์แจ่มใสและรู้จักรับผิดชอบในการกระทำของตนเองต่อการเล่นกิจกรรมดีมาก

ข้อเสนอแนะ
          1.เพิ่มรูปแบบการเล่นที่หลากหลาย เช่น วัว 5 ตัว เสือ 3 ตัว เป็นต้น

          2.มีการควบคุมบริเวณการวิ่งของวัว เมื่ออยู่บริเวณนอกคอก

ภาพกิจกรรม









สรุปผลการจัดกิจกรรมประดิษฐ์ดอกไม้แสนสวยจากถ้วยเยลลี่ปีโป้

จัดกิจกรรมเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ.2562
ผู้รับผิดชอบ 1. นางสาวกัญญาภรณ์   กล้าเสสมอ    รหัสนักศึกษา 59191860308
                2. นางสาวธัญญลักษณ์  ยงยิ่งยืน        รหัสนักศึกษา 59191860221

         จากการจัดกิจกรรมประดิษฐ์ดอกไม้จากถ้วยเยลลี่ปีโป้ในครั้งนี้ พบว่า ผู้เล่นมีความสนุกสนานเเละเพลิดเพลินกับกิจกรรมเป็นอย่างมาก เเละปฎิบัติามข้อตกลงที่ตั้งไว้อีกด้วย เมื่อทำกิจกรรมเสร็จเเล้ว ผู้ทำกิจกรรมมีความสามัคคีเเละรับผิดชอบ ในการปฎิติตามข้อตกลงโดยเก็บเศษกระดาษ เเละอุปกรณ์เข้าเรียบร้อย เเละในขณะทำกิจกรรมผู้ทำกิจกรรมตั้งใจทำดอกไม้จากถ้วยเยลลี่ปีโป้อย่างมาก เเละเมื่อหมดเวลาผู้ทำกิจกรรมยังทำกิจกรรมยังไม่เสร็จได้มีการฝากไว้ เเล้วจะมาทำต่อเเละได้ขอผลงานของตนเองไว้ เเละผู้ทำกิจกกรรมได้ขอทำดอกไม้อีกนอกเหนือจากที่กำหนด กลัวว่าจะไม่พอจำนวนคนจึงไม่ได้ให้ทำ 

ข้อเสนอแนะ
          1. ควรตัดก้นปีโป้ไว้เพื่อง่ายต่อการทำกิจกรรม

          2. ควรมีรูปภาพดอกไม้ที่หลากหลาย
ภาพกิจกรรม









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น